ปณิธาน ชี้ "เจรจาชนกลุ่มน้อย ไม่ใช่ยุทธศาสตร์ของไทย"

Wed, 8 May 2024 19:26:59

ปฏิเสธไม่ได้ว่า การนัดพบระหว่าง ตัวแทนกลุ่มชาติพันธุ์ติดอาวุธ และ "ทักษิณ ชินวัตร" หลังจากไปเยือนเชียงใหม่เมื่อช่วงสงกรานต์ ทำให้เกิดแรงกระเพื่อมตลอดแนวบริเวณชายแดนไทย-เมียนมา และส่งสัญญาณถึงความพยายามในการเข้าไปเป็นตัวเชื่อมหรือคนกลางเพื่อทำให้เกิดสันติภาพระหว่าง ระหว่างสภาบริหารแห่งรัฐ (SAC) ที่มี พล.อ.อาวุโส มิน อ่องหล่าย ประธาน SAC และนายกรัฐมนตรีเมียนมา กับฝ่ายต่อต้านที่มีกลุ่มชาติพันธุ์และรัฐบาลเอกภาพแห่งชาติ (National Unity Government : NUG) อยู่ขั้วตรงข้าม

มีข้อมูลระบุว่า การเข้าไปเป็นตัวกลางของ "ทักษิณ" เกิดขึ้นอย่างไม่เป็นทางการ ก่อนที่ "ปานปรีย์ พหิทธานุกร" อดีตรมว.ต่างประเทศจะลาออก และในอดีตที่ผ่านมาอดีตนายกฯ ผู้นี้ มีความมักคุ้นกับนายทหารเมียนมาหลายคน ไม่ว่าจะเป็น พล.อ.อาวุโส มิน อ่องหล่าย พล.อ.หม่องเอ และ พล.อ.ตาน ฉ่วย

โดยการหารือกับกลุ่มผู้นำชาติพันธุ์แบ่งเป็น 2 รอบ คือ ครั้งแรกเมื่อวันที่ 13 เม.ย.2567 ได้มีการพบกับตัวแทนกองทัพปลดปล่อยแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNLA), พรรคก้าวหน้าแห่งชาติคะเรนนี (KNPP) และองค์การแห่งชาติคะฉิ่น (KNO) ส่วนครั้งที่ 2 มีการนัดพบกันที่กรุงเทพมหานคร โดยมี พล.อ.เจ้ายอดศึก ผู้นำสภาเพื่อการกอบกู้รัฐฉาน (RCSS/SSA) และซิน มา อ่อง รมว.ต่างประเทศ รัฐบาลเอกภาพแห่งชาติ (NUG) ตัวแทนกลุ่มหนุนอองซาน ซูจี รวมทั้งตัวแทนกลุ่มชาติพันธุ์อีกหลายองค์กร

รศ.ดร.ปณิธาน วัฒนายากร นักวิชาการด้านความมั่นคง วิเคราะห์ความเคลื่อนไหวดังกล่าวว่า หากมองตามกรอบยุทธศาสตร์ความมั่นคง อาจส่งผลกระทบทำให้ไทยต้องเจอสถานการณ์ที่ซับซ้อน หรือเกิดความคลุมเครืออีกระดับหนึ่ง ซึ่งความคลุมเครือดังกล่าว บางครั้งก็ใช้ได้ดี และบางครั้งก็ใช้ไม่ได้ แต่ส่วนใหญ่มักใช้ไม่ได้ เพราะผ่านจุดที่ต้องใช้คนเจรจาอย่างเป็นทางการแล้ว

สำหรับการเจรจาที่ผ่านมา มีทั้งเป็นทางการ กึ่งทางการ และไม่เป็นทางการ โดยการเจรจาแบบไม่เป็นทางการ เริ่มมาตั้งแต่ 3 ปีแล้ว กับกลุ่มนักธุรกิจ อดีตผู้นำและเครือข่ายของอาเซียน ก่อนที่อาเซียนจะผลักดันฉันทามติอย่างเป็นทางการ 5 ข้อ คือ 1.ให้ทุกฝ่ายหยุดความรุนแรง 2.ทุกฝ่ายเจรจาอย่างสันติ 3.ให้มีทูตพิเศษเพื่อให้เกิดกระบวนการเจรจา 4.อาเซียนช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม และ 5.ทูตพิเศษเข้าไปเมียนมาเพื่อพูดคุยกับทุกฝ่าย ซึ่งเป็นการเริ่มนับหนึ่งในการแก้วิกฤติเมียนมา ซึ่งที่ผ่านมามีความพยายามอย่างเป็นทางการมาแล้วหลายรอบ

"แบบเป็นทางการ เราเห็นความพยายามของบรูไน ในฐานะประธานอาเซียนในสมัยแรก ที่เข้าไปเจรจากับกัมพูชาและสมเด็จฮุน เซน ทั้งแบบทางการและไม่เป็นทางการ รวมทั้งการใช้ความสัมพันธ์ส่วนตัวก็ล้มเหลว หรือฝั่งอินโดนีเซีย รับไปก็ทำไม่ได้ ต้องกลับมาตั้งหลักกันใหม่ พร้อมกับการเดิน Track ใหม่ ในลักษณะกึ่งทางการ คุยกับญี่ปุ่น สหรัฐ จีน พอเริ่มเดินหน้าต่อก็มีการผลักดันระเบียงมนุษยธรรม และหลังจาก ดร.ปานปรีย์ มาเป็นรมว.ต่างประ เทศ ก็ไปคุยกับสหรัฐอเมริกาเพิ่มขึ้น ทำให้สามารถเปิดพื้นที่คุยได้ แต่ครั้งนี้รัฐบาลเมียนมาปฏิเสธขอปิดพื้นที่แล้ว ทั้งที่เป็นทางการและกึ่งทางการ"

ร.ศ.ดร.ปณิธาน บอกว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นนายทักษิณ และสมเด็จฮุน เซน เห็นโอกาสนี้ จึงพยายามที่จะเข้าไป เพราะขณะนี้ทหารเมียนมากำลังเพลี่ยงพล้ำ เขาอาจเข้าไปช่วยดูว่า จะทำอะไรได้บ้าง หรือเข้าไปรักษาผลประโยชน์ตัวเอง เรื่องสัมปทานหรือไม่ ส่วนกลุ่มชาติพันธุ์เขาก็รู้ทาง การเชิญให้มาพูดคุยก็เป็นเรื่องที่ดี แต่ก็ยื่นเงื่อนไขที่นายทักษิณปฏิเสธไม่ได้ คือ ขอให้ไปบอกทหารเมียนมาให้ลงจากตำแหน่ง เพราะตอนนี้มีกลุ่มชาติพันธุ์ที่อยู่ในกลุ่มลงนามข้อตกลงหยุดยิงทั่วประเทศ (NCA) 10 กลุ่ม* จาก 17 กลุ่ม

แต่ส่วนใหญ่จะไม่อยู่แล้ว เช่น พล.อ.หม่อง ชิต ตู ก็รอดูสถานการณ์ คือ ไม่อยู่กับทหารเมียนมา และกะเหรี่ยง รอดูว่าใครจะชนะ ระหว่างนี้ก็ช่วยลาดตระเวนเรียกเก็บค่าต๋ง ค่าส่วยเพราะมีกองกำลังเกือบหมื่นคน

ส่วนการเจรจากับ พล.อ.เจ้ายอดศึก ผู้นำกองทัพรัฐฉานใต้ RCSS/SSA และกลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆ ที่ไม่ได้มีกองกำลังมากเหมือนกะฉิ่น หรือกลุ่มอาระกันที่มีกองกำลังเข้มแข็งนั้น นักวิชาการคนเดิม บอกว่า กลุ่มนี้เจรจากับทหารเมียนมา และได้ยื่นข้อเสนอให้ทหารเมียนมา ออกไปจากการเมืองและการจัดระบบชายแดน พร้อมกับคืนอำนาจให้พวกเขาตั้งรัฐปกครองตนเอง แต่จะอยู่ในสมาพันธ์หรือสหพันธ์ค่อยมาถกกันอีกรอบว่า จะวางอาวุธหรือไม่วางอาวุธ แต่อย่ามาโน้มน้าวให้ยอมกลับไปส่งส่วย จ่ายค่าต๋งให้ ทหารเมียนมาไม่เอาแล้ว และประเด็นนี้ เชื่อว่า พล.อ.อาวุโส มิน อ่องหล่าย และทหารเมียนมาคงไม่รับ และเชื่อว่านายทักษิณ คงคุยให้ไม่ได้

ดังนั้นเมียนมาจึงไม่เชิญนายทักษิณไปหารือ ทั้งๆ ที่นายทักษิณไปคุยกับกลุ่มชาติพันธุ์ให้แล้ว ส่วนตัวเชื่อว่าทหารเมียนมาทราบดีว่า นายทักษิณพูดคุยอะไรกับกลุ่มผู้นำชาติพันธุ์ เนื่องจากฉันทามติ 5 ข้อ ส่วนใหญ่เอียงไปทางข้อเสนอของกองกำลังพิทักษ์ประชาชน (People's Defence Force : PDF) และรัฐบาลเอกภาพแห่งชาติ( (National Unity Government: NUG)

แต่สำหรับนายทักษิณ เชื่อว่า น่าจะมีลวดลายมากกว่านั้น คือ เข้าไปหาทางช่วยเหลือ ประคับประคอง เพื่อให้ทหารเมียนมายืนได้ แต่ต้องยอมเสียพื้นที่ปกครองประเทศไปบางส่วน โดยเฉพาะจุดที่มีพวก "ฮาร์ดแลนด์" ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อประไทยมาก

"จริงๆ การเข้าไปเจรจากับชนกลุ่มน้อย ไม่ใช่ยุทธศาสตร์ของเรา เพราะยุทธศาสตร์ไทย ต้องทำให้เป็นทางรอดของทุกฝ่าย เป็นพื้นที่ทุกฝ่ายจะต้องมารับความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม ดูแลความปลอดภัย หนีภัย พื้นที่พักรอ ไม่เรียกให้ไปซื้ออาวุธ หรือฝึกอาวุธ ซึ่งหลายฝ่ายเริ่มเดินแบบนั้น การที่เอ็นจีโอของสหรัฐฯ เข้ามา ฝึกอาวุธ ทำให้ทหารเมียนมา ไม่พอใจและตั้งข้อสังเกตมานานแล้ว จึงส่งสัญญาณเตือนเรื่องความมั่นคงด้านพลังงาน เราต้องไม่ลืมว่า หากทางการเมียนมาปิดท่อส่งพลังงาน ไทยจะทำอย่างไร"

ร.ศ.ดร.ปณิธาน กล่าวว่า การนัดกลุ่มชาติพันธุ์ให้มาเจรจากับนายทักษิณ ในฐานะตัวกลางการเจรจาสันติภาพ ทั้งสองฝ่ายก็ไม่ได้เสียอะไร สุดท้ายนายทักษิณก็อาจได้สัมปทานอะไรใหม่ๆ กลับมา ส่วนกลุ่มผู้นำชาติพันธุ์ก็ถือว่า ได้ใช้ช่องทางพิเศษในการสื่อสารกับทหารเมียนมา คือ ขอให้กองทัพเมียนมาถอยออกไปจากการเมือง เปิดให้มีการเลือกตั้ง จัดระบบใหม่

แต่ผลการตอบรับจากทหารเมียนมา คือ การเรียกกระทรวงการต่างประเทศมาคุย และบอกให้เตรียมพร้อมภายในเดือน ต.ค.นี้ และขอให้เริ่มจัดการเลือกตั้งแบบประเทศอินเดียในปลายปี 2567 นี้

ร.ศ.ดร.ปณิธาน ย้ำว่า ช่วงนี้ทหารเมียนมาตกอยู่ในสถานการณ์ที่กำลังเพลี่ยงพล้ำ และฤดูฝนเข้ามาแล้ว เขาจะใช้กองกำลังทางอากาศได้น้อยลง และหมายความว่า เขาเสียพื้นที่ควบคุมไปอีก และกองกำลังกลุ่มชาติพันธุ์จะไม่ต่อรอง จึงหลายฝ่ายมองว่า เป็นโอกาสดีที่ทหารเมียนมาอ่อนกำลังลงแล้ว

ดังนั้นการเข้าไปช่วยคุยเพื่อให้เกิดทิศทางมาใหม่ๆ เพื่อเกิดประโยชน์กับทุกฝ่าย อาจเป็นทางเลือกที่ดี ซึ่ง สมช. และกระทรวงการต่างประเทศต้องมีความชัดเจนในนโยบายที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ

*ทั้งนี้สำหรับ 10 กลุ่มชาติพันธ์ที่มีการลงนามข้อตกลงหยุดยิงทั่วไประเทศ NCA ประกอบด้วย สภากอบกู้รัฐฉาน (RCSS/SSA), สหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNU), องค์กรปลดปล่อยชาติปะโอ (PNLO), กองกำลังกะเหรี่ยงประชาธิปไตย (DKBA), แนวร่วมแห่งชาติชิน (CNF), แนวร่วมประชาธิปไตยของมวลนักศึกษาพม่า (ABSDF), พรรคปลดปล่อยอาระกัน (ALP), สภาแห่งชาติกะเหรี่ยงสันติภาพ (KNU/KNLA-PC), พรรครัฐมอญใหม่ (NMSP) และสหภาพประชาธิปไตยลาหู่ (LDU)

ส่วนกลุ่มชาติพันธุ์ติดอาวุธ ที่ยังไม่ลงนามข้อตกลงหยุดยิง NCA มี 7 กลุ่มที่รวมตัวกันในนาม Myanmar Peace Commission and Federal Political Negotiation Consultative Committee หรือ FPNCC คือ กองทัพสหรัฐว้า (UWSA), กองทัพคะฉิ่น (KIA), กองทัพเมืองลา (NDAA), กองทัพโกก้าง (MNDAA), พรรคก้าวหน้ารัฐฉาน (SSPP/SSA) ,กองทัพตะอั้ง (TNLA) และกองทัพอาระกัน (AA)


"เพื่อให้ทุกอาชีพมีส่วนร่วม" เป้าหมายของ 20 อาชีพ 200 สว.2567

Wed, 8 May 2024 17:10:00

มีชัย ฤชุพันธุ์ อดีตประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) อธิบายที่มาที่ไปของรัฐธรรมนูญ 2560 เรื่อง "ที่มาของสมาชิกวุฒิสภา" ในหนังสือเรื่อง "เขียนไว้กันลืม" ว่าแต่เดิมมานั้น การมีวุฒิสภา มักจะเกิดจากแนวคิดว่าสภาผู้แทนยังไม่พร้อม ควรมีสภาพี่เลี้ยงเพื่อประคับประคองกันไป สมาชิกวุฒิสภาในตอนต้นจึงมาจากการแต่งตั้ง เพื่อให้ได้คนที่มีคุณวุฒิสูง มีประสบการณ์มาก ๆ ต่อมาก็ให้มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากแต่ละจังหวัด โดยให้ตัดจากพรรคการเมือง เพื่อความเป็นอิสระไม่อยู่ภายใต้อาณัติพรรคการเมือง

แต่ปัจจุบันคนมีความรู้ มีปริญญาสูง ๆ ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมากขึ้น คนที่มิได้มีปริญญาสูง ๆ ก็มีประสบการณ์ที่สะสมมามากเพียงพอที่จะไม่ต้องการพี่เลี้ยงอีก

จึงคิดว่า ทำไมไม่เปลี่ยนวุฒิสภาให้เป็นสภาที่จะรับรู้ความต้องการหรือความเดือดร้อน หรือส่วนได้เสียของคนกลุ่มต่าง ๆ เพื่อให้ประชาชนทุกสาขาอาชีพได้เข้ามามีส่วนร่วมในทางการเมืองอย่างแท้จริงและความต้องการของเขาได้รับการพิจารณาอย่างจริงจัง

นั่นจึงเป็นที่มาของวุฒิสภาที่จะมาจากประชาชนทุกหมู่เหล่า ทุกอาชีพ ทุกลักษณะ

อ่านข่าว : https://policywatch.thaipbs.or.th/article/legal-6

ตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2561 มาตรา 10 ภายใต้บังคับมาตรา 15 วรรคสอง การแบ่งกลุ่มตามมาตรา 11 เป็นไปเพื่อให้บุคคลซึ่งมีคุณสมบัติตามมาตรา 13 และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 14 ทุกคนมีสิทธิสมัครเข้ารับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภาในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งได้

มาตรา 11 : แบ่งกลุ่ม 20 อาชีพ

วุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกจํานวน 200 คนซึ่งมาจากการ "เลือกกันเอง" ของบุคคลซึ่งมีความรู้ ความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์ อาชีพ ลักษณะหรือประโยชน์ร่วมกัน หรือทํางานหรือเคยทํางานด้านต่าง ๆ ที่หลากหลายของสังคมในแต่ละกลุ่ม ดังต่อไปนี้

  1. กลุ่มการบริหารราชการแผ่นดินและความมั่นคง อันได้แก่ผู้เคยเป็นข้าราชการ เจ้าหน้าที่ของรัฐ หรืออื่น ๆ ในทํานองเดียวกัน
  2. กลุ่มกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม อันได้แก่ผู้เป็นหรือเคยเป็นผู้พิพากษา ตุลาการอัยการ ตํารวจ ผู้ประกอบวิชาชีพด้านกฎหมาย หรืออื่น ๆ ในทํานองเดียวกัน
  3. กลุ่มการศึกษา อันได้แก่ผู้เป็นหรือเคยเป็นครู อาจารย์ นักวิจัย ผู้บริหารสถานศึกษา บุคลากรทางการศึกษา หรืออื่น ๆ ในทํานองเดียวกัน
  4. กลุ่มการสาธารณสุข อันได้แก่ผู้เป็นหรือเคยเป็นแพทย์ทุกประเภท เทคนิคการแพทย์ สาธารณสุข พยาบาล เภสัชกร หรืออื่น ๆ ในทํานองเดียวกัน
  5. กลุ่มอาชีพทํานา ปลูกพืชล้มลุก หรืออื่น ๆ ในทํานองเดียวกัน
  6. กลุ่มอาชีพทําสวน ป่าไม้ ปศุสัตว์ ประมง หรืออื่น ๆ ในทํานองเดียวกัน
  7. กลุ่มพนักงานหรือลูกจ้างของบุคคลซึ่งมิใช่ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐ ผู้ใช้แรงงาน หรืออื่น ๆ ในทํานองเดียวกัน
  8. กลุ่มผู้ประกอบอาชีพด้านสิ่งแวดล้อม ผังเมือง อสังหาริมทรัพย์และสาธารณูปโภค ทรัพยากรธรรมชาติ พลังงาน หรืออื่น ๆ ในทํานองเดียวกัน
  9. กลุ่มผู้ประกอบกิจการขนาดกลางและขนาดย่อมตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น หรืออื่น ๆ ในทํานองเดียวกัน
  10. กลุ่มผ้ประกอบกิจการอื่นนอกจากกิจการตามข้อ 9 
  11. กลุ่มผู้ประกอบธุรกิจหรืออาชีพด้านการท่องเที่ยว อันได้แก่ผู้ประกอบธุรกิจท่องเที่ยว มัคคุเทศก์ ผู้ประกอบกิจการหรือพนักงานโรงแรม หรืออื่น ๆ ในทํานองเดียวกัน
  12. กลุ่มผู้ประกอบอุตสาหกรรม หรืออื่น ๆ ในทํานองเดียวกัน
  13. กลุ่มผู้ประกอบอาชีพด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การสื่อสารการพัฒนานวัตกรรม หรืออื่น ๆ ในทํานองเดียวกัน
  14. กลุ่มสตรี
  15. กลุ่มผู้สูงอายุ คนพิการหรือทุพพลภาพ กลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มอัตลักษณ์อื่น หรืออื่น ๆ ในทํานองเดียวกัน
  16. กลุ่มศิลปะ วัฒนธรรม ดนตรี การแสดงและบันเทิง นักกีฬา หรืออื่น ๆ ในทํานองเดียวกัน
  17. กลุ่มประชาสังคม กลุ่มองค์กรสาธารณประโยชน์ หรืออื่น ๆ ในทํานองเดียวกัน
  18. กลุ่มสื่อสารมวลชน ผู้สร้างสรรค์วรรณกรรม หรืออื่น ๆ ในทํานองเดียวกัน
  19. กลุ่มผู้ประกอบวิชาชีพ ผู้ประกอบอาชีพอิสระ หรืออื่น ๆ ในทํานองเดียวกัน
  20. กลุ่มอื่น ๆ

การมีลักษณะอื่น ๆ ในทํานองเดียวกันตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการประกาศกําหนด ผู้มีคุณสมบัติตามมาตรา 13 และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 14 ย่อมมีสิทธิสมัครในกลุ่มอื่น ๆ ตามข้อ 20 ได้

อ่านข่าวเพิ่ม : 

มีคำตอบ! "สว.มีไว้ทำไม" หน้าที่-สิทธิ-อำนาจ สภาสูงชุดที่ 13

จะเป็น สว. ต้องทำอย่างไร ? เช็กคุณสมบัติ - ลักษณะต้องห้าม ก่อนลงสมัคร

มาตรา 13 : คุณสมบัติผู้สมัคร

ความในข้อ 3 ไม่ใช้บังคับแก่สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการหรือทุพพลภาพ กลุ่มชาติพันธุ์ และ กลุ่มอัตลักษณ์อื่น ซึ่งสมัครในกลุ่มตามมาตรา 11 (14) และ (15)

อ่านข่าวเพิ่ม : 

กกต.แจงยิบกฎ-กติกาขั้นตอนเลือก 200 สมาชิกวุฒิสภาชุดที่ 13

"เลือกกันเอง" ที่มา สว.ชุดใหม่ ครั้งแรกการเมืองไทย

มาตรา 14 ลักษณะต้องห้ามผู้สมัคร

อ่านข่าว : เรื่องน่ารู้ ก่อนเลือก สว.67 สมาชิกวุฒิสภาชุดที่ 13 ของประเทศไทย

ที่มา : หนังสือ ความในใจของคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ 2560, พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2561


ด่วน "กฤษฎา" ลาออก รมช.คลัง แล้ว

Wed, 8 May 2024 16:11:00

วันนี้ (8 พ.ค.2567) รายงานข่าวจากพรรครวมไทยสร้างชาติเปิดเผยว่า วันนี้ (8 พ.ค.) นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ รมช.คลัง ได้ยื่นหนังสือลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (รมช.คลัง) กับนายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกฯ และ รมว.คลังเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

นอกจากนี้ นายอัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ โฆษกพรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) ให้สัมภาษณ์ ถึงข่าวนายกฤษฎา ออกจาก รมช.คลัง ว่าทางพรรคยังไม่ได้ทราบถึงเรื่องดังกล่าวและไม่ได้มีการยืนยันอย่างเป็นทางการอะไรดังนั้นจึงยังถือว่าเป็นข่าวลือ

อ่านข่าว : “วิสุทธิ์” นัด 3 ฝ่าย วางกรอบเวลาถกงบฯ 68 วันที่ 13 พ.ค.นี้

แต่ที่ชัดเจนและเป็นทางการคือวันเดียวกันนี้นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ ได้ลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรค และประธานยุทธศาสตร์พรรครวมไทยสร้างชาติแล้ว โดยต้องการเปิดทางให้บุคลากรท่านอื่นเข้ามาทำหน้าที่แทนเนื่องจากไปประกอบธุรกิจส่วนตัว

ทั้งนี้ นายกฤษฎา ได้รับมอบหมายให้กำกับดูแลส่วนราชการ คือ สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.)
ส่วนรัฐวิสาหกิจและหน่วยงานของรัฐในกำกับของกระทรวงการคลัง ได้แก่ การยาสูบแห่งประเทศไทย / สถาบันคุ้มครองเงินฝาก (สคฝ.) / บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) / สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) / สำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน) หรือ สพพ.

ขณะที่ล่าสุด เพจเฟซบุ๊ก สรยุทธ สุทัศนจินดา ระบุว่า นายเศรษฐา ทวีสิน นายกฯ ได้ระงับใบลาออกของนายกฤษฎา พร้อมบอก ให้กลับไปนอนคิด 1 คืน 

อ่านข่าว

"วรงค์" รับคำท้า "ภูมิธรรม" ตรวจคุณภาพข้าว มั่นใจตบแต่งกองข้าว

ท้าส่ง "ตัวอย่างข้าว 10 ปี" พิสูจน์แลบตรวจสารตกค้าง-โภชนาการ  

พงศกร ชี้ "ทักษิณ" คุย "ชาติพันธุ์" ไม่ใช่เวลาเจรจาสันติภาพ

 

 

 


ท้าส่ง "ตัวอย่างข้าว 10 ปี" พิสูจน์แล็บตรวจสารตกค้าง-โภชนาการ

Wed, 8 May 2024 16:09:00

#จํานําข้าว ยังคงติดเทรนด์ในแอปพลิเคชัน X ข้ามคืน หลากหลายคำถามที่ถูกส่งผ่านโลกออนไลน์ ยังไม่มีคำตอบที่ชัดเจนจากจากรัฐบาล  

ไทยพีบีเอสออนไลน์ ได้พูดคุยสั้น ๆ กับ ดร.สง่า ดามาพงษ์ ที่ปรึกษากรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ในฐานะนักโภชนาการ สะท้อนมุมมองเรื่องข้าว 10 ปีในโครงการรับจำนำข้าว โดยตั้งคำถามไว้ 3 ประเด็นว่าก่อนที่จะนำข้าว 10 ปีมาให้ผู้บริโภคหรือนำออกไปขาย รัฐบาลต้องพิสูจน์ว่าข้าวทั้งหมดมีคุณภาพหรือไม่

นักโภชนาการ บอกว่า ประเด็นแรก ขอให้ดูเรื่องทางกายภาพว่า สี กลิ่นของข้าวนับแสนกระสอบที่เก็บไว้ในโกดังมีการเปลี่ยนแปลงไปมากน้อยแค่ไหน จากภาพข่าวที่ปรากฎพบว่ามีมอด แมลงที่เห็นบ่งชี้ทางกายภาพว่ามีการเปลี่ยนแปลงของข้าวจากการเก็บข้าวไว้นาน ๆ แล้วมาบอกว่าให้ซาวน้ำ 15 ครั้งแล้วจะดีขึ้น

การที่นำคนไปชิมโชว์ อาจนำข้าวบางส่วนที่ไม่ได้มีมอดกิน หรือเสียหายมากมาหุง แต่ไม่สามารถตัดสินว่าข้าวในล็อตนี้จะมีคุณภาพหรือไม่ 

อ่านข่าว แกะรอย มหกรรมโชว์กินข้าว 10 ปี กินได้จริงหรือ? ฤาหาทางลง

ข้าว 10 ปีในโครงการรับจำนำข้าว

ข้าว 10 ปีในโครงการรับจำนำข้าว

จี้ตรวจสอบเชื้อรา-สารตกค้าง-โภชนาการ

นักโภชนาการ ตั้งคำถามอีกว่า ประเด็นเรื่องความปลอดภัย ต้องบอกให้ได้ก่อนว่า 10 ปีที่มีการรมควันข้าวไว้ใช้สารชนิดไหนบ้าง มีการรมควันทุกเดือนหรือไม่ ใช้สารเคมีตัวไหน เช่น เมทิลโบรไมด์ (methyl bromide)  ใช้รมกันมอด แมลง เชื้อรามันตกค้างหรือไม่ และตอนรมควันเข้าถึงทั่วทุกกระสอบหรือไม่ 

รวมทั้งเรื่องของอะฟลาท็อกซิน เชื้อราที่อาจเกิดขึ้นได้ หากมีการควบคุมความชื้นสัมพัทธ์ได้ไม่ดีพอในกระสอบข้าว ซึ่งประเด็นอะฟลาท็อกซิน เป็นเชื้อราที่พบในพวกธัญพืช ถั่ว หอมแดง กระเทียม ถ้ากินบ่อยๆ จะเกิดโรคมะเร็งได้ ดังนั้นหากข้าวมีการปนเปื้อนของเชื้อราก็เท่ากับผู้บริโภคมีความเสี่ยง 

อ่านข่าว : รู้จัก "อะฟลาท็อกซิน" วายร้ายก่อมะเร็ง

ดร.สง่า กล่าวอีกว่า ประเด็นที่ 3 เรื่องของโภชนาการและสารอาหารในข้าว ซึ่งในข้าวสารคาร์โบไฮเดรตเมื่อผ่านเวลานาน 10 ปีอาจไม่สูญเสียคุณค่าด้านพลังงาน แต่แสงและความชื้นอาจมีส่วนทำให้คุณค่าสารอากหาอื่นๆ เช่น วิตามิน บี 1 บี 12 และโปรตีนสลาย และลดคุณค่าไปในระดับหนึ่งถ้าเก็บไว้นานๆ 

ดังนั้นใน 3 ประเด็นนี้อยากเสนอให้รัฐบาล ต้องพิสูจน์ให้เห็นชัดเจนก่อน ไม่ใช่ให้คนใดคนหนึ่งไปชิมแล้วว่าข้าว 10 ปีกินได้ ต้องนำข้าวไปส่งตรวจในแลบ ทดสอบการยอมรับเชิงการวิจัย มองว่าต้องส่งตรวจพิสูจน์คือความปลอดภัยจากสารเคมีตกค้าง เชื้อราและลักษณะทางกายภาพ และคุณค่าของโภชนาการว่ามียังมีหรือไม่ แค่คาร์โบไฮเดรต มีพลังงานเท่านั้น

ต้องพิสูจน์ก่อนว่าปลอดภัยหรือไม่ ให้โอกาสในการพิสูจน์อย่าเพิ่งด่วนสรุปว่ากินได้หรือไม่ได้ ต้องส่งตัวอย่างข้าวตรวจในแลบเรื่องความปลอดภัยและเรื่องคุณค่าทางโภชนาการก่อน

อ่านข่าว ระทึก! นาทีตึกรื้อถอนพังต่อหน้า เศษซากคาถนนจรัญสนิทวงศ์ 

ภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พาณิชย์

ภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พาณิชย์

ไม่แนะนำส่งทำอาหารสัตว์-ห่วงโซ่อาหารสู่คน 

ทั้งนี้นักโภชนาการ ยังย้ำว่า ถ้าพิสูจน์แล้ว และยอมรับใน 2 ส่วนได้คือความปลอดภัย และถึงขั้นจะนำไปวางขายเป็นทางเลือกข้าวราคาถูก และช่วยคนมีรายได้น้อย ข้าวบรรจุถุงต้องมีฉลากข้างถุงให้ชัดเจนว่าเป็นข้าว 10 ปีหรือข้าวโครงการรับจำนำ เพื่อเป็นทางเลือกกับผู้บริโภคในการตัดสินใจว่ายอมรับได้ที่จะซื้อข้าวถูกและต้องซาวน้ำ 15 ครั้ง 

ส่วนทางเลือกอื่น ถ้าไม่นำมาขาย มองว่าถึงจะนำไปเป็นอาหารสัตว์ ถ้าไม่ปลอด ภัยมีเชื้อราอะฟลาท็อกซิน ก็ไม่ปลอดภัย เพราะไม่ว่าจะเป็นไก เป็นไก่ไข่ ก็มีผลทางอ้อมกลับมาสู่คน ส่วนที่มีข้อเสนอว่านำไปทำแอลกอฮอล์ อาจจะได้แต่ถามว่าคุณภาพจะดีหรือไม่  

อ่านข่าว

เผยวิธีเก็บข้าว 10 ปี ผู้เชี่ยวชาญกังวลคุณค่าทางอาหารถูกย่อยสลาย

"วรงค์" รับคำท้า "ภูมิธรรม" ตรวจคุณภาพข้าว มั่นใจตบแต่งกองข้าว

 "สารรมควัน" ในเมล็ดข้าวสาร "ไม่เสื่อมสภาพ ตกค้าง ล้างไม่ออก"


“วิสุทธิ์” นัด 3 ฝ่าย วางกรอบเวลาถกงบฯ 68 วันที่ 13 พ.ค.นี้

Wed, 8 May 2024 15:37:14

วันนี้ (8 พ.ค.2567) นายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล กล่าวว่า วันที่ 13 พ.ค.นี้ นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่ 2 นัด 3 ฝ่ายหารือ ได้แก่ สส. ฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายค้าน และตัวแทนคณะรัฐมนตรีเพื่อกำหนดกรอบเวลาในการอภิปรายร่างพระราชบัญญัติประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2568 เวลา 09.30 น. ที่รัฐสภา

เบื้องต้นได้มีการกำหนดกรอบเวลาในการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณปี 2568 ระหว่าง 19 - 20 มิ.ย.แต่อาจจะเพิ่มวันที่ 18 หรือวันที่ 21 มิ.ย.ไปอีก 1 วันขึ้นอยู่กับการหารือ 3 ฝ่าย จะเจรจาตกลงกัน

นายวิสุทธิ์ กล่าวว่า รัฐบาลให้เหตุผลในการขยับวันพิจารณา ร่างกฎหมายงบประมาณออกไปอีก 2 สัปดาห์จากเดิมที่วางไว้ต้นเดือน มิ.ย.เพื่อความละเอียดรอบคอบของการจัดทำงบประมาณ

รวมไปถึงการปรับปรุง บางรายการ และยังมีเรื่องเงินที่จะใช้ในโครงการดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท ส่วนหนึ่งที่ต้องทำรายละเอียดให้ชัดเจน จะได้ปราศจากข้อกังขาของทุกฝ่าย ผู้อภิปรายทั้ง สส.ฝ่ายค้านและรัฐบาลจะได้ฟังรายละเอียดทั้งหมด

ส่วนกรณีที่พรรคก้าวไกลได้ทำการบ้านศึกษาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณ 68 และเตรียม สส.อภิปรายไว้ 20-30 คนนั้น นายวิสุทธิ์ กล่าวว่า ไม่เป็นไร เพราะเป็นเรื่องธรรมดาที่จะต้องเตรียมตัว ซึ่งฝ่ายรัฐบาลก็ได้เตรียมตัวไว้แล้ว โดยพรรคเพื่อไทยมีทีมวิชาการเข้ามาช่วย เตรียมข้อมูลให้ สส.แต่ละคน

ทั้งนี้จำเป็นจะต้องติวเข้ม สส.ฝ่ายรัฐบาลหรือไม่ เนื่องจากฝ่ายค้านเล็งอภิปรายจัดเต็ม และยังมีงบประมาณที่เกี่ยวกับโครงการดิจิทัลวอลเล็ตด้วย นายวิสุทธิ์กล่าวว่า ในพรรคเพื่อไทยได้มีการประชุมหารือกันไปแล้วบางส่วนเมื่อถึงเวลาคงไม่มีปัญหาอะไรส่วนตัวมั่นใจ จึงไม่ต้องฟอร์มทีมเพื่อรับมือกับการอภิปรายประเด็นโครงการดิจิทัล วอลเล็ตเป็นพิเศษ เพราะฝ่ายวิชาการก็ได้เตรียมข้อมูลไว้ให้แล้วจึงไม่ใช่เรื่องยากเย็น

 

 


พงศกร ชี้ "ทักษิณ" คุย "ชาติพันธุ์" ไม่ใช่เวลาเจรจาสันติภาพ

Wed, 8 May 2024 14:14:00

พลันที่ปรากฏข่าวว่า นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เดินสายพูดคุยช่วยเจรจาชนกลุ่มน้อยเมียนมา แม้นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี จะออกมาระบุว่า ไม่ทราบเรื่องนี้ แต่เชื่อมั่นว่าทุกท่านมีความหวังดีต่อประเทศ โดยยืนยันว่าฝ่ายความมั่นคง และกระทรวงการต่างประเทศ (กต.) พูดคุยกับทุกกลุ่มอยู่แล้ว อยู่ในชั้นความลับ-เปิดเผยไม่ได้

แต่ความเคลื่อนไหวดังกล่าวกลับถูกตั้งคำถามว่า นายทักษิณ เป็นตัวแทนพูดคุยในฐานะใด

พล.ท.พงศกร รอดชมภู อดีตรองเลขาธิการสภาความมั่งคงแห่งชาติ (สมช.) ตั้งข้อสังเกตว่า ข่าวที่หลุดออกมาเป็นเรื่องจริง เพราะมีการยืนยันข้อมูลอย่างไม่เป็นทางการจากหลายฝ่าย รวมถึงไทยที่ปฏิเสธด้วยท่าทีแบ่งรับแบ่งสู้ สอดคล้องกับสำนักข่าวไทยและต่างประเทศที่เกาะติดสถานการณ์นี้ และส่วนตัวได้รับคำยืนยันจากชนกลุ่มน้อยว่า มีความเคลื่อนไหวจริง

อดีตรองเลขาฯ สมช. เชื่อว่า นายทักษิณมีเจตนาดี และในหลักการนั้น การแสวงหาสันติภาพเป็นเรื่องถูกต้อง แต่ต้องพูดคุยวิธีการและดำเนินการในช่วงเวลาเหมาะสม ส่วนประเด็นของนายทักษิณ ไม่แน่ชัดว่าไปเจรจาในนามส่วนบุคคล หรือไปหาช่องทางล่วงหน้า หากลงตัวแล้วค่อยให้รัฐบาลรับรองอีกครั้ง สุดท้ายข่าวปูดออกมาก่อน จึงกลายเป็นอลเวง

การเจรจาต้องขับเคลื่อนโดยรัฐบาลไทยเพื่อให้เกิดผล ที่สำคัญในช่วงเวลานี้สถานการณ์ยังไม่นิ่ง ยังไม่ใช่เวลาเจรจาสันติภาพ เพราะมีการสู้รบอยู่ อาจมีฝ่ายได้เปรียบ หรือเสียเปรียบ

การเคลื่อนไหวดังกล่าวมองได้ 2 ประเด็น คือ ความเคลื่อนไหวของนายทักษิณจะรบกวนการรบของทั้งสองฝ่ายหรือไม่ เพราะมีทั้งฝ่ายที่ได้เปรียบ และฝ่ายเสียเปรียบ ส่วนอีกประเด็น นายทักษิณเข้าไปในฐานะใด จะมีการให้คุณให้โทษในฐานะของรัฐบาลไทยหรือไม่ ซึ่งก่อนหน้านี้ พล.อ.อาวุโส มิน อ่อง หล่าย เคยบอกว่าต้องให้ประชาชนร่วมมือกันและหยุดยิง แต่ไม่มีใครยอมรับตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว ขณะที่จีนพยายามจัดการเจรจาหยุดยิง แต่ไม่มีใครยอมเช่นกัน

เห็นชัดเจนตอนนี้กำลังตะลุมบอนกันอยู่ และไม่มีการปฏิบัติตามข้อเสนอต่าง ๆ แน่นอน จนกว่าจะเห็นชัดเจนว่าจะเกิดอะไรขึ้นระหว่างรัฐบาลทหารเมียนมา ชนกลุ่มน้อย และ PDF เป็นศึก 3 เส้า ไม่ใช่ 2 เส้า

พล.ท.พงศกร ระบุว่า อยากเสนอให้รัฐบาลไทย แถลงจุดยืนให้ชัดเจนและนำเรื่องนี้เข้าสู่ระบบ พร้อมกำหนดทิศทางให้ชัดเจนว่าจะดูแลประชาชนทุกฝ่ายอย่างดีที่สุด และเปิดให้องค์กรระหว่างประเทศเข้ามาดูแลผู้หนีภัยสงคราม รวมทั้งเปิดการค้า เพื่อให้ประชาชนมีอาหาร น้ำ และยาเพียงพอจนกว่าสงครามจะจบ อย่าเพิ่งไปแตะเรื่องใหญ่อย่างการเจรจาหยุดยิง หรือเปลี่ยนทิศทางรบ ย้ำว่าขณะนี้ไม่ใช่เวลาเจรจาสันติภาพ

ขณะที่ก่อนหน้านี้ มีชาวเมียนมาอพยพเข้าไทยจำนวนมาก ทั้งแบบผิดกฎหมาย หรือวีซ่าจะหมดอายุ แต่กลับประเทศไม่ได้ เพราะนอกจากในประเทศเมียนมายังมีการสู้รบอยู่ ยังมีปัญหาประชาชนถูกบังคับให้เกณฑ์ทหาร จึงทำให้มีผู้คนจำนวนไม่น้อยหลบหนีเข้ามาทำงานในไทย จึงมีการเสนอให้ ครม.มีมติผ่อนผันให้ผู้หนี้ภัยสงครามอยู่ในไทยได้อย่างปลอดภัย เพื่อป้องกันการรีดไถจากเจ้าหน้าที่รัฐ เมื่อกลุ่มคนเหล่านี้ได้กลับบ้านเกิด ก็จะรู้สึกว่าไทยเป็นมิตร

นายทักษิณมีความสัมพันธ์ที่ดีกับรัฐบาลทหารเมียนมา แต่เท่าที่ทราบ พล.อ.อาวุโส มิน อ่อง หล่าย ยังไม่ตอบรับ สะท้อนว่าเขาอาจไม่สบายใจ เพราะเขาถือว่ายังได้เปรียบ เขารบกันอยู่ เราทำอะไรมากไม่ได้ สิ่งที่รัฐบาลทำได้คือดูแลประชาชนทุกฝ่าย รอจนกว่าเขารบกันจบ เมื่อเขาหมดแรงหรือพร้อมคุย ค่อยไปล็อบบี้ช่วงนั้น ทำได้แค่นั้น อย่างอื่นทำยาก เราไม่ควรไปยุ่งขนาดนั้น อันนี้ผมเห็นว่าล้ำหน้าไปนิดนึง 

สำหรับข้อถกเถียงถึงความเหมาะสมของการเคลื่อนไหวในครั้งนี้ อดีตรองเลขาฯ สมช.มองว่า มีข้อดีที่นายทักษิณได้เริ่มคุยกับชนกลุ่มน้อย ซึ่งที่ผ่านมารัฐบาลไม่กล้าคุย รัฐบาลจึงควรใช้โอกาสพูดคุยกับชนกลุ่มน้อยเรื่องการดูแลประชาชน ส่วนเอกสารที่กลุ่มดังกล่าวยังไม่เซ็นให้นายทักษิณเป็นตัวกลาง เพราะอาจไม่ตรงใจ และน่าจะไม่สบายใจเรื่องนี้ จึงต้องรีบเคลียร์ประเด็นนี้ เพื่อไม่ให้กลายเป็นไทยเลือกฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือเข้าใจว่าเป็นการบีบให้ยอมแพ้ ยอมเจรจา ยอมเลือกตั้ง และหยุดการสู้รบ

พล.ท.พงศกร มองว่า รัฐบาลทหารเมียนมามองความมั่นคงสำคัญกว่าการต่างประเทศ ไทยจึงควรใช้กระบวนการด้านความมั่นคง และควรมีท่าทีชัดเจนว่าพร้อมดูแลทุกฝ่าย โดยมี กต. และ สมช. เป็นเจ้าภาพหลักขับเคลื่อนให้เป็นทิศทางชัดเจน และเป็นรูปธรรม

อ่านข่าว

"เศรษฐา" ปัด "ทักษิณ" เจรจาคู่ขนานสันติภาพเมียนมา 

KNDF ยิงเฮลิคอปเตอร์เมียนมาตก ตาย 5 รวมนายทหารระดับสูง 

ทหารเมียนมาโจมตีฐานกองกำลังกะเหรี่ยง 2 จุดในเมียวดี 

 


ประจักษ์จับประเด็น : รมว.คลังคนใหม่ "พิชัย" มวยคนละสไตล์แต่ค่ายเดียวกัน

Wed, 8 May 2024 14:10:34

หากเป็นมวยต้องเป็นคนละสไตล์ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และอดีตรัฐมนตรีคลังคนก่อน เป็นมวยบู๊จัดหนัก ใจร้อน ใส่เกียร์เดินเปิดหน้าโล่งเข้าใส่ ให้เห็นดำเห็นแดงกันไปข้าง แบบสไตล์ไฟต์เตอร์

แต่นายพิชัย ชุณหวชิร รัฐมนตรีคลังคนใหม่ เป็นมวยจังหวะฝีมือ ตั้งการ์ดสูง ใจเย็น ไม่บุ่มบ่าม ศึกษาคูเหลี่ยมคู่ต่อสู้ ครบเครื่อง รอจังหวะ แบบบ็อกเซอร์

จึงไม่ใช่เรื่องแปลก ที่นายพิชัยจะทำให้สถานการณ์ตึงเครียดระหว่างรัฐบาลกับแบงก์ชาติผ่อนคลายลง เมื่อประกาศภารกิจแรก คือ เพิ่มรายได้ แก้ของแพง แก้หนี้ครัวเรือนที่ขยับสูงกว่า 90 % เท่ากับจะกระตุ้นเศรษฐกิจคู่ไปกับการแก้หนี้

ส่วนเรื่องแบงก์ชาติและผู้ว่าฯ นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาสนฤพุฒิ ที่ตกเป็นเป้าโดนวิพากษ์จากรัฐบาลและพรรคเพื่อไทย นายพิชัยบอกว่า ไม่จำเป็นต้องรีบคุยวันนี้ หรือ พรุ่งนี้ และไม่ติดขัดว่าจะพูดคุยกันที่ไหน ที่แบงก์ชาติก็ได้ เพราะตนก็เคยเป็นกรรมการแบงก์ชาติมาก่อน

ยังย้ำด้วยว่า หากไปที่แบงก์ชาติ เขาจะไม่พูดเรื่องลดดอกเบี้ย แต่จะให้อิสระแบงก์ชาติ พิจารณาเอง

เห็นได้ชัดถึงความแตกต่างเรื่องวิธีการและลีลาของนายพิชัย ที่ทำให้ความเขม็งเกลียวลดลง ดีกว่าแกนนำหรือลูกพรรคในเพื่อไทยและรัฐบาล ดาหน้ากันออกมาจัดเต็มใส่แบงก์ชาติ แต่ปกป้อง”อุ๊งอิ๊ง” น.ส.แพทองธาร ชินวัตร หัวหน้าพรรคเพื่อไทย ที่วิพากษ์ความเป็นอิสระของแบงก์ชาติ ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการแก้ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ

ต้องไม่ลืมว่า นายพิชัยมาจากนักบัญชี จบบัญชีบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คนจบบัญชีมักเป็นคนละเอียดอ่อน รอบคอบ สุขุม เหมือนกับวิธีการทำงาน เขาเติบโตบนเส้นทางนักบัญชี ถึงตำแหน่งรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ การเงินและบัญชีของ ปตท.ปี 44 ยุครัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ยศในขณะนั้น

ตรงกับช่วงแปรรูปการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย หรือ ปตท.เป็นบริษัทมหาชน เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ก่อนที่เขาจะขยับขึ้นไปเป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารการเงิน บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) เมื่อปี 51

นอกจากนี้ ยังเคยเป็นกรรมการแบงก์ชาติ เป็นนายกสภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นประธานกรรมการ กลุ่มบริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) การผ่านงานสำคัญในแวดวงราชการ และกึ่งราชการอย่างรัฐวิสาหกิจ ทำให้บุคลิก ท่าทาง รวมทั้งการเจรจาพูดคุยกับคนในวงการราชการด้วยกัน จะรู้สึกคุ้นเคย พูดภาษาเดียวกัน และเป็นพวกเดียวกัน

การประสานเจรจากับสภาพัฒน์ฯ รวมทั้งแบงก์ชาติ จะเป็นไปได้ง่ายกว่า ต่างจากคนวงนอกราชการ คนจากภาคธุรกิจ ภาคเอกชน ที่ต้องระแวดระวังไม่มีไว้ใจมาก เพราะหากผิดพลาดขึ้นมา ข้าราชการย่อมได้รับผลกระทบหรือ หรือ "ซวย" ไปด้วย ยิ่งถ้าโดน ม.157 เท่ากับเส้นทางราชการดับวูบ จะไปภาคเอกชนก็ยากเพราะมีประวัติติดตัว

กูรูทางการเมืองบางคนบอกว่า บุคลิกภาพของนายพิชัย คล้าย ๆ กับ ปู่สมหมาย ฮุนตระกูล อดีตรัฐมนตรีคลัง คนมาดนิ่ม ไม่โฉ่งฉ่าง ไม่พูดมาก แต่พอถึงเวลาลงดาบสั่งปลดนายนุกูล ประจวบเหมาะ จากผู้ว่าฯแบงก์ชาติเมื่อปี 2527 หลังลดค่าเงินบาท ทำทันที และคล้ายคลึงกับนายประมวล สภาวสุ รัฐมนตรีคลัง สมัยรัฐบาล พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ ที่สั่งปลดผู้ว่าฯแบงก์ชาติ นายกำจร สถิรกุล เมื่อปี 32 เพราะขัดแย้งเรื่องอัตราดอกเบี้ยคล้ายตอนนี้

จึงมีแนวโน้มสูงที่ภารกิจหลักอย่างหนึ่งของนายพิชัย นอกจากเรื่องดิจิทัลวอลเล็ตที่เป็นนโยบายเรือธงแล้ว เรื่องจัดระเบียบ และรับการมือ แม้แต่จัดการกับหน่วยงานราชการที่อาจยังเห็นต่างหรือแข็งข้อกับรัฐบาล รวมทั้งแบงก์ชาติ แม้จะเป็นอิสระจากรัฐบาลตามโครงสร้าง ก็น่าจะตกบนบ่านายพิชัยด้วย

เพราะคำพูดประโยคหนึ่งของนายพิชัยเมื่อวันก่อน ที่ว่าแบงก์เป็นอิสระอยู่แล้วเหมือนทุกประเทศ มีอิสระในการคิด การวิเคราะห์ มีอิสระที่จะเลือกทางเลือกที่ดีที่สุด แต่ทางเลือกนั้นต้องสนองความต้องการของประชาชน หรือคนที่มาทำงานแทนประชาชน ซึ่งในทางปฏิบัติ หมายถึง สส.และรัฐบาล

อยู่ที่วิธีการที่จะใช้ว่าจะเป็นอย่างไร แต่ดูจากบุคลิก และคำพูดแล้ว น่าจะใช้การประสาน พร้อมโอภาปราศรัย หรือการใช้ไม้นวมเป็นตัวนำสำคัญในเบื้องต้น 

แต่หากไม่ประสบผล อาจได้เห็นแข็งตามมาก็ได้ แม้การจัดการกับผู้ว่าแบงก์ชาติ ในกฎหมายปัจจุบันต่างไปจากกฎหมายฉบับก่อนที่ให้อำนาจรัฐมนตรีคลัง สั่งปลดได้โดยไม่ต้องมีเหตุผลก็ตาม

เงียบ ๆ ขรึม ๆ ไม่พูดมาก ก็น่ากลัวได้เช่นกัน เพราะแม้จะคนละสไตล์ แต่มวยสังกัดค่ายเดียวกัน ถึงจังหวะนั้น ต้องดูพี่เลี้ยงหรือหัวหน้าค่ายว่าจะส่งสัญญาณให้ทำอย่างไร 

วิเคราะห์ : ประจักษ์ มะวงศ์สา 

 

 


"วรงค์" รับคำท้า "ภูมิธรรม" ตรวจคุณภาพข้าว มั่นใจตบแต่งกองข้าว

Wed, 8 May 2024 13:21:35

วันนี้ (8 พ.ค.2567) นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม กล่าวถึงกรณีที่นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกฯ และรมว.พาณิชย์ นำคณะสื่อมวลชน ตรวจสอบข้าวในสต็อกของรัฐบาลตามโครงการรับจำนำข้าวที่ จ.สุรินทร์ และทดลองหุงข้าว ที่อ้างว่าเป็นข้าว ซึ่งเก็บไว้ 10 ปีรับประทานว่า ตามปกติข้าว หรือธัญพืช ที่เก็บไว้นาน จะมีน้ำมันทุกตัว ข้าว 10 ปีน่าจะยังมีกลิ่นหืน และข้าวดังกล่าวอาจจะมีการล้อมกอง ตบแต่งกองนำข้าวอื่นมาล้อมเอาไว้ เพราะกระสอบข้าวที่มีน้ำหนักกระสอบละ 100 กก.ซึ่งมีน้ำหนักมากนำมาเรียงกันกองข้าวกลับไม่ทรุดตัวลงแต่กลับเรียงสวย จึงเชื่อว่าเป็นการเล่นละครตบตาประชาชน

อ่านข่าว : แกะรอย มหกรรมโชว์กินข้าว 10 ปี กินได้จริงหรือ? ฤาหาทางลง

พร้อมแปลกใจที่นายภูมิธรรม กินข้าวโชว์ถึง 2 รอบจึงเชื่อว่ามีนัยทางการเมือง เพราะนายภูมิธรรมเคยออกมาปกป้อง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกฯ ในคดีรับจำนำข้าว ที่อาจปล่อยปละละเลย และรู้ร่วมคิดในการโกง จึงอาจเป็นการกลบเกลื่อนให้เห็นว่าข้าวไม่ได้มีปัญหาเพื่อช่วย น.ส.ยิ่งลักษณ์ทำให้ภาพลักษณ์ดี

หัวใจคือการเมืองล้วน ๆ โดยเฉพาะเรื่องของคุณยิ่งลักษณ์ และภาพลักษณ์ของพรรคเพื่อไทย ในโครงการรับจำนำข้าว เพราะถ้าตั้งใจ ประมูลขาย ทำไมไม่ทำไปเลยจะมากินโชว์ ขายหรือประจานตัวเองทำไม ชาวบ้านเขาก็รู้ว่าข้าว 10 ปีใครจะกิน มีการรมยาทุก 2 เดือน 10 ปีรมยาไป 60 รอบ ผมว่าน่าจะมีการตบแต่งหน้ากองข้าวอาจจะเอาข้าว 1-2 ปีเข้ามา 

นพ.วรงค์ ยังกล่าวว่า ขอรับคำท้านายภูมิธรรมที่บอกว่าถ้าใครไม่เชื่อ ให้ไปพิสูจน์ได้การตรวจพิสูจน์กองข้าวจะต้องทำตามเงื่อนไขการตรวจสอบเข้าคือ จะต้องผ่ากองข้าวรื้อกระสอบข้าว 5-6 ชั้น โดยให้เชิญชวนนักวิชาการและคนในวงการข้าวอื่นๆเข้าร่วมด้วย เพราะในยุค คสช.ที่เคยรื้อเจอกองข้าวที่แย่มาก ๆ มาแล้ว

นพ.วรงค์ย้ำว่า โครงการรับจำนำข้าวมีการโกงทุกขั้นตอนทั้งต้นน้ำกลางน้ำและปลายน้ำ และหากนายภูมิธรรมแท้จริง ๆ ก็จะต้องรื้อกองข้าว 10 ปีนี้ จะได้เห็นของจริงที่ซุกอยู่ในกองข้าว พร้อมเชื่อว่าการดำเนินการหลายอย่างเป็น กระบวนการที่จะรองรับนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร กลับประเทศไทย เป็นเป้าหมายใหญ่ เพื่อฟอกขาว ให้นางสาวยิ่งลักษณ์ ว่าโครงการรับจำนำข้าวไม่มีปัญหาใดๆ ทำให้ประชาชนเข้าใจผิดว่าโครงการนี้อาจถูกกลั่นแกล้ง และ น.ส.ยิ่งลักษณ์จะได้กลับประเทศอีกคน

อย่างไรก็ตามเห็นว่าควรประมูลข้าวดังกล่าวไปตั้งนานแล้วแต่ผู้มีอำนาจกลับยับยั้ง พร้อมระบุว่าได้รับทราบข้อมูลในเชิงลึกว่า เคยมีการประมูลข้าว150,000กระสอบไปแล้ว 2 รอบแต่ผู้ชนะการประมูลไม่มารับข้าว แล้วยอมให้ยึดเงินประกันไป เพราะอาจรู้ว่าข้าวคุณภาพไม่ดี แล้วที่ผ่านมายังมีความพยายามให้ดำเนินการประมูลแต่ ผู้มีอำนาจก็พยายามยับยั้ง ซึ่งอาจจะต้องการพยายามตบตาประชาชน และขอให้ไปตรวจสอบว่าใครที่มาประมูลแล้วไม่ยอมมารับเข้า เพราะเหตุใด ส่วนตัวเห็นว่าให้รีบประมูลไปเลยไม่ต้องมาเล่นละครตบตา 

อ่านข่าว : นักวิชาการ มช. แนะใช้ข้าวเก่า 10 ปี ผลิตแอลกอฮอล์ - น้ำส้มสายชู

อย่างไรก็ตามส่วนตัวไม่ได้ซีเรียสเรื่องการประมูลแต่ถ้าบริสุทธิ์ใจ ทำไมถึงไม่ประมูลไปตั้งนานแล้ว ไม่มีเหตุผลอะไรที่ต้องกินข้าวโชว์ถึง 2 รอบ และการที่จะนำข้าว ล็อตนี้ไปขายต่างประเทศ อาจทำให้ประเทศไทยเสียหาย และตามหลักการคนทั่วไปจะรับประทานข้าวใหม่หรือข้าวเก่า 1-2 ปี และข้าว 2-3 ปีจะนำไปทำเส้นก๋วยเตี๋ยว ส่วนข้าว 4-5 ปีจะนำไปทำอาหารสัตว์ จะไม่มีการเก็บข้าวไว้นานถึง 10 ปีแบบนี้ เชื่อว่า ชาวนาและคนทั่วไป ส่วนใหญ่ จะมีข้อมูล และความรู้ในเรื่องเหล่านี้ จึงถือว่าเป็นการหลอกลวงประชาชน

อ่านข่าว 

"สมชัย" แนะตรวจสอบคุณภาพข้าว 10 ปี สร้างความมั่นใจก่อนขาย

เผยวิธีเก็บข้าว 10 ปี ผู้เชี่ยวชาญกังวลคุณค่าทางอาหารถูกย่อยสลาย

ไขคำตอบ! "ข้าวสาร" เก็บได้นานแค่ไหน ? 

 


ยังสนุก ตื่นเช้า กทม.เมืองในฝัน “ชัชชาติ” ดันศูนย์กลาง Ecosystem

Wed, 8 May 2024 11:33:00

บ่ายคล้อย แดดร่มลมตก พื้นที่ใจกลางกรุงเทพมหานคร “สวนป่าเบญจกิติ” ท่ามกลางคนเมืองที่เข้ามาใช้บริการวิ่งออกกำลังกาย พักผ่อนหย่อนใจ ยังมีสองหนุ่มรุ่นใหญ่ “ชัชชาติ สิทธิพันธุ์” และ “สุทธิชัย หยุ่น” วัยต่างกัน นัดพบเพื่อพูดคุยในบรรยากาศแบบสบายๆ กับ “รายการคุยนอกกรอบ กับ สุทธิชัย หยุ่น”

“ชัชชาติ สิทธิพันธุ์” ท้าวความถึงการทำงานที่ผ่านมาเกือบ 2 ปี ในตำแหน่ง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ที่อาสามาเป็นตัวแทนคนเมืองหลวง ที่หวังเข้ามาแก้ปัญหาที่หมักหมมมานาน ควบคู่กับการสร้างสภาพแวดล้อม โดยเป้าหมายทำ “กทม.” ศูนย์กลาง Ecosystem บริษัทจากต่างประเทศ

“ผมว่า กทม. มีจุดแข็งหลายเรื่อง แต่ขณะเดียวกันก็มีจุดอ่อน สิ่งที่ผมมองอยากให้เป็นเมืองน่าอยู่ของทุกคน ไม่ใช่แค่บางคน ทุกคน คือ เฟืองที่ช่วยหมุนเมืองให้ก้าวไปข้างหน้าได้ เราไม่สามารถอยู่ได้เฉพาะพวกใดพวกหนึ่ง ทุกคนต้องมีความสุขในเมืองนี้ เพราะในอนาคตสิ่งที่เมืองแข่งกัน ไม่ใช่แค่การลงทุนเท่านั้น แต่แข่งเรื่องของความสามารถที่มีปัจจัยในการดึงคนเก่ง นักพัฒนา บริษัทในต่างประเทศ เข้ามาสร้างฐานอยู่ในประเทศไทย”

“ชัชชาติ” บอกว่า สิ่งสำคัญของการพัฒนาเมือง ไม่ใช่เพียงแค่ตนเองที่เป็น ผู้ว่า กทม. แต่ต้องได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ และเอกชน ที่เป็นฟันเฟืองสำคัญในการพัฒนาเมืองไปได้อย่างรวดเร็ว บนพื้นฐานของงบประมาณที่ถูกจำกัด

“สวนป่าเบญจกิติ” นับเป็นต้นแบบความสำเร็จที่มีการเปลี่ยน “โรงงานยาสูบเป็นพื้นที่สาธารณะ” ที่ต่อขยายพื้นที่เดิมสวนเบญจกิติ 130 ไร่ บริเวณรอบ ๆ บึงน้ำโรงงานยาสูบ เป็นเกือบ 500 ไร่ หลังจากกรมธนารักษ์และกระทรวงการคลังผู้เป็นเจ้าของที่ดิน “โรงงานยาสูบ” ได้มอบพื้นที่บริเวณโรงงานยาสูบคืนเป็นพื้นที่สาธารณะสำหรับคนเมือง โดยทยอยเวนคืนและย้ายโรงงานไปยัง จ.พระนครศรีอยุธยา

สวนป่าแห่งนี้ ไม่ใช่เพียงแค่เป็นสวนสาธารณะที่เอาไว้ออกกำลัง หรือพักผ่อนหย่อนใจเท่านั้น แต่ภายในพื้นที่ดังกล่าว มีการจัดการให้เป็นสวนป่ามีระบบนิเวศที่เกื้อกูลกันเอง โดยที่เข้าไปดูแลน้อยที่สุด ทั้งพื้นที่ชุ่มน้ำ แหล่งเรียนรู้พืชพันธุ์ดั้งเดิมและไม้แปลกหายาก สวนเดินได้ และมีพื้นที่จัดกิจกรรมสำหรับคนเมืองได้ทั้งภายนอกและภายในอาคาร นี่คือโจทย์หลัก

ไม่เพียงเท่านั้นยังมีในส่วนของสนามกีฬาที่มีการสร้างในอาคารยาสูบเดิม โดยที่สำเร็จได้ก็เนื่องด้วยเอกชนหลายภาคส่วนเข้ามาเป็นเจ้าภาพในการสร้างสนามกีฬา ทั้ง 7 ชนิด คือ Basketball, Street Basketball, Pickleball, Table Tennis, Badminton, Futsal และ Teqball ซึ่งประชาชนสามารถไปเล่นได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

เกือบ 2 ปี ในฐานะผู้ว่า กทม.

จับเข่าคุยกันต่อ กับคำถามที่ว่า “เกือบ 2 ปี ในการเข้ามานั่งเป็นผู้ว่า กทม. ผลงานอะไรที่ประชาชนสามารถจับต้องได้จริง”

ชัชชาติ บอกว่า เป็นงานในระดับเส้นเลือดฝอย ระดับรากหญ้า นั่นคือ “ทราฟฟี่ฟองดูว์” (Traffy Fondue) แอพพิเคชั่นที่ช่วยให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาเมือง ด้วยการแจ้งปัญหาด้วยข้อมูลรายละเอียด ภาพหน้างาน และพิกัดตำแหน่ง เพื่อให้สามารถช่วยให้หน่วยงานต่างๆ บริหารจัดการปัญหาได้ทันท่วงที โดยแอพพิเคชั่นดังกล่าวมีมานานแล้ว แต่เข้าไม่ถึงประชาชนทำให้ที่ผ่านมามีคนใช้น้อย ปัจจุบันมีคนแจ้งปัญหาเข้ามามากถึง 560,000 เรื่อง แก้ไปแล้ว 440,000 เรื่อง

“ข้อดีของ Traffy Fondue เป็นแพลตฟอร์มที่ส่งข้อร้องเรียนถึงหน่วยงาน และแก้ปัญหาได้อย่างรวดเร็ว โดยไม่ต้องผ่านผู้ว่า กทม. อีกทั้งยังทำให้เห็นว่าเรื่องที่ส่งเข้ามามีการแก้ช้าหรือเร็ว เพราะจะมีการแสดงผลของวันที่ส่ง วันที่แก้ และส่งไปที่ใคร”

สิ่งสำคัญที่มองเห็นคือ “ข้าราชการ” เปลี่ยนวิธีคิด เพราะที่ผ่านมาปัญหาทั้งหมดจะมุ่งตรงไปที่ผู้ว่า กทม. กลับกลายเมื่อข้อร้องเรียนได้ส่งตรงไปยังเขตที่รับผิดชอบก็จะเร่งแก้ปัญหาให้ประชาชนทันที โดยไม่ต้องพะวงว่าจะต้องส่งเรื่องผ่านไปยังผู้ว่า กทม. เพื่อได้รับการอนุมัติก่อน จึงทำให้การแก้ปัญหาที่ผ่านมาล่าช้า ซึ่งปัจจุบันมีการประเมินพบว่าการแก้ปัญหาเร็วขึ้น 27 เท่า นับจากก่อนหน้านี้ ใช้เวลาประมาณเดือนกว่า หรือเฉลี่ย 33 วัน ขณะนี้เหลือประมาณ 1 วัน

“ถามว่า 540,000 เรื่องที่แจ้งมาในแอพ Traffy Fondue ผมก็บอกทีมงานว่า ‘เราไม่ได้โชว์ถึงความอ่อนแอนะ แต่โชว์ว่าประชาชนเขาไว้ใจเรา’ ถ้าเขาไม่ไว้ใจ เขาจะไม่ยกโทรศัพท์ถ่ายรูป ส่งเรื่องร้องเรียนเข้ามาหรอก สิ่งเหล่านี้ทำให้ความคิดของข้าราชการทำงานเปลี่ยนไป มองที่ประชาชนมากขึ้น”

แม้จะมีเทคโนโลยี หรือ แอพพิเคชั่น ที่ทำให้ประชาชนแจ้งปัญหาได้ง่ายขึ้น “ผู้ว่า กทม.” มองว่า มันเป็นเพียงยุทธวิธีในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นแล้ว สิ่งสำคัญของการวางแผนในระยะยาวคือยุทธศาสตร์ เพื่อขับเคลื่อนไปพร้อมกัน

เดินหน้าต่อ 200 นโยบายที่เคยหาเสียง

“ผู้ว่า กทม.” ยืนยันว่า ทุกเรื่องที่ทำได้ยังเดินหน้าทำต่อ แต่ในบางนโยบายที่เมื่อมาดูแล้วมันไม่สามารถดำเนินการได้ ก็จะมีปรับเปลี่ยนให้มีความเหมาะสมขึ้นกับสถานการณ์ อย่างเช่นเรื่องของ “ห้องสมุดเคลื่อนที่” ก็เปลี่ยนมาเป็น “บ้านหนังสือ” เนื่องด้วยหากเป็นการเคลื่อนที่จะทำให้เด็ก และคนในชุมชนต้องรอหมุนเวียนรถห้องสมุดเคลื่อนที่เพียงแค่เดือนละครั้ง แต่หากเป็นบ้านสมุดก็จะทำให้สามารถเข้าไปใช้ได้ทุกวัน

ส่วนเรื่องการปราบ “คอรัปชั่น” ตั้งแต่ตนเองเข้ามาสถานการณ์ก็ดีขึ้น เนื่องด้วยมีนโยบายการเปิดเผยข้อมูลการพัฒนา สนับสนุน จัดจ้างทุกอย่าง สัญญาต่างๆ ที่ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลทั้งหมดได้จาก data.bangkok.go.th แต่ถามว่ายังมีอยู่ไหม?... ยอมรับว่า ยังเจออยู่ แต่เป็นในระดับปฏิบัติการ แต่ก็พยายามดำเนินการขั้นเด็ดขาด

สำหรับปัญหาฝุ่นพิษ หรือฝุ่น PM 2.5 ผู้ว่าฯชัชชาติ บอกว่า สถานการณ์ในปีนี้ดีขึ้น หากเทียบปีที่แล้ว แต่ก็ไม่สามารถเคลมได้ว่าเป็นผลงานของตัวเอง เพราะเชื่อว่าเป็นเรื่องธรรมชาติ และการเผาจากข้างนอก แน่นอนว่า “รถยนต์ที่มีจำนวนมากใน กทม.” ก็ยังเป็นสาเหตุหลัก และหลายคนยังมีความเข้าใจผิดว่า “รถควันดำ”เท่านั้นที่ปล่อย PM2.5 ทั้งที่จริงคือ “PM10” แต่รถดีเซลคือตัวการสำคัญในการปล่อย PM 2.5 ที่ผ่านมา กทม. มีแคมเปญร่วมกับเอกชน “เปลี่ยนน้ำมันเครื่อง ไส้กรอง” เกือบ 3 แสนคัน รวมถึงการลดราคาให้กับผู้ใช้บริการ

ในอนาคตต้องร่วมกับรัฐบาลให้มากขึ้น ในแง่ของการทำ EV ,Ecosystem , รวมมีแนวคิดในการแก้กฎหมายภาษีรถยนต์ ที่ปัจจุบันภาษีรถยนต์เก่ามีราคาถูกกว่ารถยนต์รุ่นใหม่ ซึ่งจะต้องไปคุยกับกระทรวงการคลัง และ กระทรวงคมนาคม

ขณะที่การเผาของเกษตรกร เบื้องต้นได้ทดลองซื้อเครื่องอัดฟาง 3 เครื่อง ให้ชาวนาย่านหนองจอก มีนบุรี ยืมในการอัดฟางขายแทนการเผาฟาง ซึ่งก็ได้ผลดีเพราะได้ใช้ทำอาหารสัตว์ และเชื้อเพลิง ซึ่งชาวนาก็มีการสลับกันใช้ ทำให้ปีนี้จุดความร้อนลดลงอย่างเห็นได้ชัด

เทคโนโลยีแก้ปัญหาจราจรของคนเมืองหลวง

“จะลดปัญหาการจราจรได้” สิ่งสำคัญ “จะต้องใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยมากขึ้น” เพื่อทำ “ขนส่งมวลชนให้ดี” แม้ว่าปัจจุบันจะมีรถไฟฟ้าเกือบ 500 กิโลเมตร แต่ปัญหาหลัก “เข้าไม่ถึงในซอยบ้าน” จึงทำให้การเดินทางของประชาชนไม่ตอบโจทย์ เมื่อลงรถไฟฟ้าแล้วจะต่อรถเข้าบ้านอย่างไร สิ่งที่วางแผนต่ออาจจะต้องทำข้อมูลให้มากขึ้นเพื่อเปลี่ยนเส้นทางรถเมล์จากระยะยาวให้ไปวิ่งในซอย และการทำทางเท้าใหม่ให้น่าเดิน

“ผมมีเป้าหมาย 4 ปี ในตำแหน่งผู้ว่า กทม. จะต้องมีทางเท้าน่าเดิน 2,000 กิโลเมตร ทั้ง Walkway (ทางเดิน) ที่มี Covered Walkway (หลังคาคลุมทางเดินกันแดดกันฝน) , Skywalk (ทางเชื่อม) ซึ่งในขณะนี้ได้ดำเนินการที่ถนนราชวิถี เนื่องด้วยมีการเชื่อมต่อ skywalk บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย และจะเชื่อมไปยังโรงพยาบาลรามาธิบดี และโรงพยาบาลอื่นๆ ที่มี 9 โรงพยาบาลโดยรอบ ซึ่งเรียกว่าโซน “Healthcare”

แต่ Skywalk ก็ไม่อยากทำมาก เพราะจะทำให้เศรษฐกิจตาย ร้านค้าข้างล่างขายของไม่ได้ เป็นไปได้จึงอยากจะให้เดินบนฟุตบาท จึงต้องทำฟุตบาทให้น่าเดินขึ้น ขณะนี้ได้ดำเนินการไปเกือบ 300 กิโลเมตา กับฟุตบาทใหม่ที่มีมาตรฐานด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก มีดีไซน์ที่สวยงามน่าเดิน

ขณะที่เรื่องหาบเร่แผงลอย ในขณะนี้มีอยู่สองแบบคือ “หาบเร่ที่อยู่จุดผ่อนผัน” กับ “หาบเร่นอกจุดผ่อนผัน” ซึ่งก่อนหน้านี้มีจุดผ่อนผันกว่า 700 จุด ได้มีการยกเลิกไปแล้ว 200 จุด ซึ่งก็อยู่ในระยะค่อยเป็นค่อยไป ก็ต้องให้เวลากับผู้ค้าตามที่ได้ตกลงกันไว้ ในระยะยาวในแต่ละส่วนก็จะต้องหาพื้นที่เพื่อให้เป็น “Hawker Center” หรือพื้นที่หาบเร่แผงลอยแบบจัดระเบียบ ในประเทศสิงคโปร์ “ก็ต้องเข้าใจว่าคนรายได้ก็อยากของกินที่ไม่แพง ซึ่งหาบเร่แผงลอยเหล่านี้ก็ตอบโจทย์ ดังนั้นจะยกเลิกเลยไม่ได้ แต่ต้องทำให้มันเป็นระเบียบอยู่ในพื้นที่เป็นสัดส่วน เพราะสุดท้ายแล้วร้านค้าข้างทางก็ยังเป็นเสน่ห์ของสตรีทฟู้ดเมืองไทย”

“ผู้ว่า กทม.” มองว่า การจะพัฒนาเมืองได้เอกชนคือส่วนสำคัญ แต่การจะให้เอกชนเข้ามาร่วมพัฒนาเมือง ก็ต้องมีแรงจูงใจที่เหมาะสม อาจจะเป็นขั้นตอนที่ทำให้เขาดำเนินการได้สะดวก เช่น สมมติว่า กทม. ทำใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร ก็อาจจะต้องใช้เทคโนโลยีให้สามารถยื่นออนไลน์ได้ โดยไม่ได้ต้องเจอเจ้าหน้าที่ …แต่หลายคนอาจกลัวการฮั้วประมูลกัน.. มองว่า สิ่งสำคัญคือการตั้งราคากลางที่เหมาะสม ก็จะไม่มีปัญหา แต่หากมีการตั้งราคากลางสูงก็จะทำให้มีช่องทางของการฮั้วประมูล ส่วนคนที่เคยทำผิด จะต้อง “Black List” ไหม .. มองว่าก็ต้องทำไปตามกฎหมายตามระเบียบของกรมบัญชีกลาง

การทำงานช่วง2 ปีที่เหลือ ทุ่ม “การศึกษา-เฮลท์แคร์”

“ผู้ว่าฯ ชัชชาติ” มีความคิดเห็นว่า เวลาคนพูดถึง กทม. จะคิดถึง “รถติด” “ฝุ่น” แต่ส่วนตัวกลับมอง 2 เรื่อง คือ “การศึกษา” กับ “เฮลท์แคร์” ต้นเหตุของความเหลื่อมล้ำ “โง่ จน เจ็บ” กทม.มี 437 โรงเรียน มีเด็ก 250,000 คน แต่ได้งบประมาณน้อยกว่าค่าเก็บขยะ ส่งผลให้การศึกษาใน กทม.มีความเหลื่อมล้ำสูงมาก โดยขณะนี้ได้มีการปรับ 3 เรื่อง คือ “เรื่องกายภาพ” โรงเรียนต้องพร้อม เรื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ต่างๆ ต้องพร้อม หลังเข้ามารับตำแหน่งผู้ว่าฯ กทม. ปีแรกก็ทำคอมพิวเตอร์ใหม่ 20,000 เครื่อง เพื่อให้สามารถใช้อินเทอร์เน็ตได้ “เรื่องครู” คุณภาพครู ที่จะต้องมีแรงจูงใจ เพราะที่ผ่านมาครู กทม. เสียเวลาไปทำงานด้านเอกสาร บัญชี ฝึกอบรม และงานธุรการ จึงได้มีโครงการคืนครูให้นักเรียน ด้วยการจ้างธุรการประจำโรงเรียน “ปรับหลักสูตร ให้ทันสมัย” ได้นำหลักสูตรโรงเรียน กทม. เข้านวัตกรรมการศึกษา และปรับหลักสูตรเป็นฐานสมรรถนะมากขึ้น เพื่อให้เด็กสามารถมีผลการศึกษาที่ดี

“เฮลท์แคร์” เป็นอีกเรื่องที่สำคัญมาก ของ กทม. โดยมีโครงการยกระดับสุขภาพปฐมภูมิกับศูนย์สาธารณสุขในเขตพื้นที่ของตัวเอง เพื่อลดอัตราความหนาแน่นไปรอรับการรักษาจากโรงพยาบาลใหญ่ๆ โดยปัจจุบันยังมีการขยายเวลาไปถึง 20:00 นาฬิกา ซึ่งพบว่ามีคนมาคลินิกนอกเวลากว่า 4 คน ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มที่อยู่ในชุมชน กลุ่มบัตรทอง บัตรประกันสังคม ขณะที่ผู้ป่วยติดเตียง กทม. ก็ได้มีการให้รักษาตัวที่บ้านด้วยคำแนะนำการทำเตียงให้เหมาะสมกับผู้ป่วย พร้อมระบบลิงค์ข้อมูลไปยังโรงพยาบาลเพื่อลดพื้นที่ในโรงพยาบาล

ดันกทม. “เมืองหลวง”เอเชียลำดับต้นๆ

หากเทียบกับ “กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย” “สิงคโปร์ ประเทศสิงคโปร์” “ฮานอย ประเทศเวียดนาม” “โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น” ผู้ว่าฯ ชัชชาติ มองว่า กทม. สู้ได้ เนื่องด้วยมีจุดแข็งหลายอย่าง แต่ก็มีจุดอ่อนที่จะแก้

“ผมเชื่อว่า กทม.จะเป็นอนาคต เรามีบริษัทอโกด้า (Agoda) จองเครื่องบิน โรงแรม ที่มีพนักงานกว่า 3000 คน การที่ CEO บอกว่ามาตั้งที่นี้เพราะ “thebest” เขาสามารถเรียกทั่วโลกได้นะ เขาอยากอยู่ที่นี้เพราะสะดวก สบาย ค่าครองชีพไม่แพง เมืองมีความสุข คนยิ้มแย้มแจ่มใส รวมทั้งบริษัทจากฝรั่งเศส ที่มาตั้งใน กทม. มีเอ็นจีเนีย 800 คน เขียน Coding (การเขียนชุดคำสั่งหรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์) เพื่อบริการทั่วโลก ผมว่านี้คือหัวใจเลย เพราะอนาคตไม่ใช่นิคมอุตสาหกรรม หากสามารถทำเมืองให้น่าอยู่ ก็จะดึงการเข้ามาลงทุนได้ หากเทียบกับสิงคโปร์ ฮ่องกง หรือประเทศอื่นๆ กทม. ค่าครองชีพถูกกว่า”

เช่นเดียวกับในขณะนี้ ที่ได้มีการพูดคุยและสานสัมพันธุ์กับทูตหลายประเทศ ซึ่งก็เป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยโปรโมทให้ กทม. รวมถึงยังได้แลกเปลี่ยน เรียนรู้กันและกัน ในอนาคตก็อยากจะเห็น กทม.เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ของเอเชีย ทั้งมิวเซียม อาร์ทแกลอรี่ ที่เอกชนมีบทบาทมาก สิ่งสำคัญคือการเตรียมโครงสร้างพื้นฐาน

“หากถามว่าพอใจกับสิ่งที่ได้ทำนำเกือบ 2 ปีไหม “ผู้ว่าฯ ชัชชาติ” บอกว่า ยังไม่พอใจ ยังต้องทำงานหนักขึ้นเรื่อยๆ ส่วนจะพอใจไหม ต้องให้ประชาชนเป็นคนตัดสินใจ ส่วนเวลาอีก 2 ปี ที่เหลืออยู่ ก็ยังคงทำงานอย่างเต็มที่ ยังสนุก ยังตื่นเช้า ทำงาน ทำงาน ทำงาน”

พบกับ:รายการคุยนอกกรอบกับสุทธิชัย หยุ่น ทุกวันพฤหัสบดี เวลา 21.30-22.00 น.ทางสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส


"เศรษฐา" ปัด "ทักษิณ" เจรจาคู่ขนานสันติภาพเมียนมา

Wed, 8 May 2024 10:38:00

วันนี้ (8 พ.ค.2567) นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีกล่าวถึงกระแสข่าวนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เข้าไปพูดคุยช่วยเจรจากับชนกลุ่มน้อยว่า ตนเองไม่ทราบว่ามีการไปเจรจาหรือไม่ ในส่วนกระทรวงการต่างประเทศ และฝ่ายความมั่นคง มีการเข้าไปพูดคุยกับทุกกลุ่มอยู่แล้ว ซึ่งเป็นเรื่องในชั้นความลับและเป็นเรื่องที่ไม่อยากจะเปิดเผย ยืนยันต้องการให้เกิดสันติภาพในเมียนมา

ประเทศไทยมีความชอบธรรมในการที่จะในการเป็นผู้นำในการเจรจา เพราะเรามีชายแดนติดกับเมียนมา

พร้อมยืนยันปฏิบัติตามกรอบอาเซียน และเรื่องของการให้ความช่วยเหลือด้านสิทธิมนุษยชนเป็นเรื่องสำคัญ ที่เราดูแลอยู่ตรงนี้

ผู้สื่อข่าวถามว่า การที่นายทักษิณ เข้าไปพูดคุยกับชนกลุ่มน้อย รัฐบาลจะเกิดความอึดอัด หรือไม่ที่นายทักษิณ ไปเจรจาคู่ขนาน นายกรัฐมนตรี 

ผมไม่ทราบว่ามีการเข้าไปพูดคุยหรือเปล่า แต่ผมเชื่อมั่นว่าทุกท่านมีความหวังดีต่อประเทศ

อ่านข่าว ช่วยได้แล้ว "น้องมาร์ติน" เด็กชาย 9 เดือนถูกลักพาตัว

ก่อนหน้านี้ เว็บไซต์ Aseannow.com เผยแพร่ข่าวว่า เมื่อเร็วๆ นี้ นายทักษิณ ได้หารือกับตัวแทนจากกลุ่มชาติพันธุ์ติดอาวุธ และรัฐบาลเอกภาพแห่งชาติ (เอ็นยูจี) ซึ่งเป็นรัฐบาลพลัดถิ่นของเมียนมา โดยมีเป้าหมายเพื่อช่วยยุติความขัดแย้งในเมียนมาที่ดำเนินมาตั้งแต่เดือนก.พ.2564

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี

"เทพไท" กังขาไปในฐานะอะไร

ขณะที่นายเทพไท เสนพงศ์ อดีต ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปตย์ โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุว่า ทักษิณ พบกับกลุ่มชาติพันธุ์เมียนมา ในฐานะอะไร? 
เห็นข่าวเกี่ยวกับคุณทักษิณ พบกับชนกลุ่มน้อยในเมียนมาจาก Twitter ของ Khurtai Maisoong

ได้โพสต์เอกสารภาษาพม่าจำนวน 2 แผ่น แต่ไม่สามารถแปลรายละเอียดได้ แต่เห็นจากข้อความว่า “ VOA Burmese เสนอข่าวว่าใน มี.ค.-เม.ย.2567 นายทักษิณ อดีตนายกรัฐมนตรีไทย ได้พบกับ กกล.กลุ่มชาติพันธุ์ในเมียนมาหลายกลุ่ม เช่น พล.อ.ยอดศึก ประธาน RCSS/SSA, ผู้แทน KNU, KNPP, KNO และ NUG เพื่อหาทางแก้ไขปัญหาในพม่า สำนักข่าว SHAN News ยังติดต่อสอบถามกับโฆษก RCSS/SSA ไม่ได้”

แปลกใจในบทบาทของนายทักษิณ ซึ่งยังมีสถานะเป็นนักโทษ ที่อยู่ระหว่างการพักโทษ แต่กลับมีความเคลื่อนไหวทางการเมืองในประเทศหลายครั้ง และครั้งนี้เป็นการเคลื่อนไหวเกี่ยวกับการเมืองประเทศเพื่อนบ้าน

นายเทพไท ตั้งคำถามไปยังรัฐบาล และผู้เกี่ยวข้องว่า การพบกันระหว่างคุณทักษิณ กับชนกลุ่มน้อยของเมียนมาเป็นความจริงหรือไม่ รัฐบาลได้รับรู้และอยู่เบื้องหลังเหตุการณ์ดังกล่าวหรือไม่

มาริษ เสงี่ยมพงษ์ รมว.ต่างประเทศคนใหม่

มาริษ เสงี่ยมพงษ์ รมว.ต่างประเทศคนใหม่

จี้รัฐบาลแจงข้อมูล 

นอกจากนี้เหตุการณ์ครั้งนี้เกี่ยวข้องกับการลาออกจากรมว.การต่างประเทศ ของนายปานปรีย์ มหิทธานุกร อย่างไรหรือไม่ ถ้าการนัดพบดังกล่าวเป็นความจริง มีนัดพบกันที่ไหน

พร้อมทั้งตั้งคำถาม กรมราชทัณฑ์จะพิจารณาพฤติกรรมของนายทักษิณ ที่ทำตัวเป็นนักโทษพิเศษบ้างหรือไม่ กรมคุมประพฤติไม่ได้ติดกำไลอีเอ็ม ไม่สามารถตรวจสอบความเคลื่อนไหวของคุณทักษิณได้ จะแสดงความรับผิดชอบอย่างไร หรือทบทวนการไม่ติดกำไลอีเอ็มหรือไม่

ถ้าเป็นการพบกันที่บริเวณชายแดนไทยพม่า ถือในพื้นที่ประเทศเมียนมา นายทักษิณได้ขออนุญาต และแจ้งต่อกรมคุมประพฤติหรือไม่

การเคลื่อนไหวของ นายทักษิณในครั้งนี้ เป็นการเคลื่อนไหวการเมืองระหว่างประเทศ แม้ว่าจะไม่มีระเบียบต้องห้ามของกรมคุมประพฤติที่ชัดเจน แต่เป็นการเคลื่อนไหวที่ไม่มีความเหมาะสม กำลังเกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์จากสังคม หรือภาษาพระเรียกว่า โลกวัชชะ หมายถึงโลกตำหนิติเตียน

จึงขอเรียกร้องให้รัฐบาล และผู้เกี่ยวข้องได้ออกมาชี้แจงปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นว่า เป็นความจริงหรือไม่ และได้รับรู้การเคลื่อนไหวของนายทักษิณ มากน้อยเพียงใด หรือนายทักษิณได้กระทำไปในนามตัวแทนรัฐบาลหรือไม่

อ่านข่าวอื่นๆ

จับกระแสการเมือง : วันที่ 7 พ.ค.67 "ปิดรอยแผลเก่า-กินข้าวโชว์" วิวาทะเดือด โครงการรับจำนำข้าว 10 ปี

 

จับกระแสการเมือง : วันที่ 7 พ.ค.67 "ปิดรอยแผลเก่า-กินข้าวโชว์" วิวาทะเดือด โครงการรับจำนำข้าว 10 ปี

Tue, 7 May 2024 18:03:00

สงครามน้ำลาย เปิดวิวาทะเดือด ระหว่างพรรครัฐบาล และฝ่ายค้าน เมื่ออดีตโฆษกเด็จพี่ "พร้อมพงษ์ นพฤทธิ์" ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี ออกมาตอบโต้ "ราเมศ รัตนะเชวง" โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ ที่ออกมาระบุว่า

"นายภูมิธรรม ควรเอาข้าวในโกดังดังกล่าว ไปหุงให้รัฐมนตรีได้กินกันทั้งคณะในทุกวันอังคารที่มีการประชุมคณะรัฐมนตรี"

เหตุเกิดหลัง "ภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกฯ และ รมว.พาณิชย์ เดินสายโชว์กินข้าว โครงการรับจำนำข้าว 10 ปี ซึ่งเก็บไว้ในโกดัง จ.สุรินทร์ ถึง 2 ครั้ง ตั้งแต่เดือน เม.ย. และล่าสุดเมื่อวันที่ 6 พ.ค. แถมการันตีว่า ยังมีคุณภาพดีและสามารถนำมาหุงเพื่อการบริโภคได้

อดีตโฆษกเด็จพี่ บอกว่า สิ่งที่ท่านรองนายกฯ ภูมิธรรมทำเป็นเรื่องดี ใครๆ ก็เห็นด้วย แต่นายราเมศกลับออกมาท้าทาย ออกมาเล่นการเมือง ให้ทำอย่างนั้นทำอย่างนี้ สิ่งที่พูดและสื่อสารออกมาเหมือนจะรู้ทุกเรื่อง เห็นทุกอย่าง ไปลงพื้นที่ด้วยหรือเปล่า หรือว่ามีผีสางนางไม้ที่ไหนมากระซิบข้างหู คราวนี้ก็ยังฝากถามอีก ทั้งเรื่องช้อนซื้อที่ไหน ตักติดแต่กับไม่ค่อยติดข้าว พูดไปไกลถึงเรื่องลบล้างเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาในคดีทุจริตรับจำนำข้าว ไม่เคยตกเลยจริงๆ เรื่องใช้จินตนาการมากกว่าสมอง ถนัดเหลือเกินกับการเล่นการเมืองแบบไม่สนความเสียหาย

อ่านข่าว : "สมชัย" แนะตรวจสอบคุณภาพข้าว 10 ปี สร้างความมั่นใจก่อนขาย

ขณะ "เสี่ยอ้วน" ภูมิธรรม บอกว่า ตนมีหน้าที่ขนข้าวในคลังออกไปขาย ดีกว่าปล่อยให้เน่าเสียประมาณกว่า 150,000 กระสอบ ถ้าปล่อยไปเรื่อยๆ ก็ถึงขั้นขายไม่ได้ ตอนแรกก็ไม่มั่นใจ จนได้ไปดูและลองหุงมาชิมก็รู้สึกว่าอร่อยไม่มีปัญหาอะไร

"ไม่ได้ไปบังคับใคร ใครทานได้ก็ทาน ใครไม่อยากทานก็ไม่ต้องทาน ใครซื้อก็ซื้อ ซื้อไม่ได้ก็ไม่ต้องซื้อ ผมไม่ได้ทำอะไรเพิ่มเติมมากกว่าสิ่งที่ควรทำ และหากในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีวันนี้หารือกันจนสิ้นสงสัย ก็จะเร่งดำเนินการประมูลภายในเดือนพ.ค.นี้ หรืออย่างช้าไม่เกินเดือน มิ.ย.ไม่อยากให้เกิดดรามา เอาจินตนาการมาชี้นำความจริง" เสี่ยอ้วน ภูมิธรรม ระบายความในใจ

ส่วน "ราเมศ" สวนกลับว่า ไหนๆ ก็ไหนๆ แล้ว ต่อจากนี้ก็ต้องมาตรวจดูข้อมูลว่าโกดังที่เก็บข้าวจำนำ เป็นโกดังของใคร และได้ค่าเช่าจากการเช่าโกดัง 10 ปี เป็นจำนวนเงินเท่าใด กระทรวงใด หน่วยงานใด เป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย การเก็บเป็นเวลากว่า 10 ปีต้องฉีดยาทุก 3 เดือน ใช่หรือไม่

รัฐนำเงินภาษีของประชาชนมาใช้ในส่วนนี้ ถามว่าต้องนำเงินภาษีมารับผิดชอบโครงการจำนำข้าว เป็นจำนวนเท่าไหร่ และถ้านายพร้อมพงศ์ตอบได้ ก็ช่วยออกมาตอบ เพราะประชาชนผู้เสียภาษีอยากรู้ข้อมูลที่แท้จริง

"ข้อท้วงติงรับไปตรึกตรองดู อย่าทำตัวเป็นรัฐบาลน้ำเต็มแก้ว ถ้าน้ำในแก้วเป็นน้ำเน่าก็เททิ้งเอาน้ำดีใส่ไปบ้าง และถ้าออกมาโต้ในทางการเมือง รับประกันได้ว่าเข้าเนื้อแน่นอน ก่อนที่จะกลิ้งนะ นิ่งๆ ไว้ก่อนจะดีกว่า"

อ่านข่าว : "สารรมควัน" ในเมล็ดข้าวสาร "ไม่เสื่อมสภาพ ตกค้าง ล้างไม่ออก" 

ขณะที่ ดร.สมพร อิศวิลานนท์ นักวิชาการอาวุโส สถาบันคลังสมองของชาติ ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านข้าว ออกมาระบุว่า ตามปกติข้าวจะเก็บไว้ไม่นาน ชาวบ้านจะเก็บไว้ปีต่อปีแล้วขายออก ส่วนประเทศที่ขาดแคลนข้าว ก็อาจจะเก็บเอาไว้ประมาณ 3-5 ปี แต่ข้าวจากคดีโครงการรับจำนำข้าว เก็บนาน 10 ปี บริโภคได้อยู่หรือไม่ ขึ้นอยู่กับวิธีการเก็บว่ามีการดูแลดีหรือไม่ มีการรมควัน มีความชื้นเข้าไปมากน้อยขนาดไหน มีเชื้อราหรือไม่ ดูจากสภาพข้าวอย่างเดียวไม่ได้ แต่ถ้ามีเชื้อราก็ไม่ควรบริโภค เพราะเป็นอันตรายกับผู้บริโภค

สมัย ตอน คสช. ถ้าบริโภคไม่ได้ จะเอาไปทำข้าวเป็นอาหารสัตว์ และถ้าต่ำกว่าอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ ก็คือไปทำเป็นอุตสาหกรรมแปรรูปหมักเป็นเอทานอล และทำปุ๋ย เพื่อไม่ให้มันเสียหายมาก ข้าวอายุ 10 ปี ถ้าเป็นข้าวหอมมะลิยางหมดไปแล้ว ข้าวจะร่วน กินไม่อร่อย การระบายข้าวออกไป ต้องคำนึงถึงความปลอดภัย ไม่ใช่คิดแต่ระบายออกโดยไม่คิดถึงผู้บริโภค เพราะเท่ากับไปทำให้ตลาดข้าวเสียหาย แล้วก็ต้องไม่หลอกลวงผู้บริโภค

ขณะที่รัฐบาลเพื่อไทย ยังอุตลุดกับโครงการโรดโชว์ ข้าวกินได้จากโครงการรับจำนำข้าว 10 ปี และเมาหมัด กับโครงการดิจิทัลวอลเล็ต ที่ยังไปไม่ถึงไหน และ ส่ง "อุ๊งอิ๊ง" แพทองธาร ชินวัตร หัวหน้าพรรคฯ ยังออกมาฟาดกับ "ผู้ว่าการนก" เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ธปท. ว่าความเป็นอิสระของแบงก์ชาติ เป็นอุปสรรคต่อการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ เป็นเหตุให้เกิดกระแสตีกลับอย่างหนักว่า ผู้ที่ออกมาพูดน่าจะเป็นคนที่ไม่มีความเข้าใจในเรื่องข้อกฎหมาย และ หลักความเป็นอิสระของ ธปท.ในฐานะธนาคารกลางของประเทศ

ตัดไปที่ความเคลื่อนไหวของพรรคสีส้ม ไม่ตกเทรนด์ เมื่อ "กรุณพล เทียนสุวรรณ" สส.บัญชีรายชื่อ และรองโฆษกพรรคก้าวไกล โพสต์ข้อความผ่าน X (ทวิตเตอร์) @petchy66 ระบุถึงกรณีนายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.พาณิชย์ ลงพื้นที่ตรวจโกดังเก็บข้าวสมัยโครงการรับจำนำข้าวเมื่อราว 10 ปีก่อน พร้อมยืนยันว่าข้าว 10 ปีที่แล้วสามารถบริโภคได้นั้น

"ข้าวเน่าไม่เน่าพิสูจน์ได้ด้วยวิทยาศาสตร์ รัฐมนตรีทานให้ดูไปแล้วส่วนหนึ่ง ต่อจากนี้อยากเห็นรัฐบาลที่เคยถูกรังแกและใส่ร้ายเรื่องข้าวเน่าจนเสียหายมาเป็นสิบปี ตามจับคนที่มีส่วนในการโกหกเรื่องข้าวเน่า มารับโทษตามกระบวนการยุติธรรม แม้ว่าอาจจะมีผู้ต้องสงสัยหลายคนเป็นรัฐมนตรี และ สส.พรรคร่วมรัฐบาลในตอนนี้ เพื่อยืนยันว่าเราไม่อาจยอมให้เกิดการทำลายทางการเมืองด้วยการใส่ร้ายและยัดคดีที่ไม่มีมูลความจริงอีกต่อไป"

อ่านข่าว : ส่องนัยการเมือง "ภูมิธรรม" ชิมข้าว 10 ปี ปูทาง "ยิ่งลักษณ์" กลับไทย


ส่องนัยการเมือง "ภูมิธรรม" ชิมข้าว 10 ปี ปูทาง "ยิ่งลักษณ์" กลับไทย

Tue, 7 May 2024 17:26:45

ปรากฏการณ์นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.พาณิชย์ ลงพื้นที่ตรวจสอบข้าวสารในสต็อกของรัฐบาล ตามโครงการรับจำนำ ที่ จ.สุรินทร์ นำข้าวที่เก็บในโกดังนานกว่า 10 ปี มาหุงโชว์กินต่อหน้ากองทัพสื่อมวลชน พร้อมประกาศเตรียมเปิดประมูลข้าวสารในสต๊อก 2 โกดังสุดท้าย เหลือข้าวหอมมะลิ 15,012 ตัน หรือ 145,590 กระสอบ

รศ.โอฬาร ถิ่นบางเตียว คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา วิเคราะห์การชิมข้าวอายุ 10 ปีว่า สะท้อนนัยทางการเมือง 2 มิติ ในแง่ของกระทรวงพาณิชย์ ต้องการบริหารจัดการข้าวในสต็อกให้แล้วเสร็จ อย่างน้อยก็ได้เงินมาใช้บริหารราชการแผ่นดิน

อีกแง่หนึ่งทางการเมือง ต้องการทำเรื่องนี้ให้จบ เพราะทางคดีโครงการรับจำนำข้าวจบแล้ว แต่เมื่อปล่อยข้าวไว้นาน 10 ปี จึงมีผลนัยยะทางการเมืองค่อนข้างมาก เพราะฝ่ายที่ไม่ชื่นชอบรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ในขณะนั้น ใช้ประเด็นนี้ในการโจมตีและวิพากษ์วิจารณ์ หาก น.ส.ยิ่งลักษณ์ ต้องการกลับไทย ก็จะเข้าสู่กระบวนการของคดีอื่น ๆ ที่ยังค้างอยู่ ส่วนคดีจำนำข้าวหากไม่เคลียร์ให้จบ ปล่อยทิ้งข้าวโดยไม่แก้ปัญหา อาจถูกโจมตีได้ว่าใช้สิทธิพิเศษ

รศ.โอฬาร ถิ่นบางเตียว

รศ.โอฬาร ถิ่นบางเตียว

คดีและความผิดทางละเมิดจบแล้ว ข้าวก็จำหน่ายหมดแล้ว ต้องการจบเคลียร์ ส่วน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ถ้าต้องการจะกลับมา เรื่องนี้ก็จะไม่เป็นข้อวิพากษ์วิจารณ์ แม้ไม่จบเบ็ดเสร็จเด็ดขาด แต่ก็เจือจางความรู้สึก

ส่วนการเปิดประมูลข้าวเพื่อส่งจำหน่ายให้แอฟริกา หรือจำหน่ายภายในประเทศ มีความเหมาะสมเพียงใด รศ.โอฬาร มองว่า ขณะนี้ยังมีข้อถกเถียงว่าข้าว 10 ปีบริโภคได้หรือไม่ หากนำไปจำหน่ายเพื่อบริโภค หรือบริจาคให้ต่างประเทศ แต่คุณภาพข้าวไม่ผ่านเกณฑ์ จะกระทบภาพลักษณ์ด้านลบต่อรัฐบาล และถูกใช้ประเด็นโจมตีรัฐบาล และ น.ส.ยิ่งลักษณ์ จึงเสนอให้นำไปใช้เป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ อย่างน้อยยอมขาดทุน แต่ปิดจบได้ ลบภาพจำคดีนี้ทั้งหมด

ภูมิธรรม เวชยชัย

ภูมิธรรม เวชยชัย

ถ้าขายเพื่อบริโภคแล้วมีปัญหาทีหลัง อาจสร้างภาพจำใหม่ เป็นข้อวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลต่อไปอีกว่าขายแล้วกินไม่ได้ทั้งหมด กลายเป็นคดีข้าวภาค 2

รศ.โอฬาร เชื่อว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ จะเดินทางกลับไทยก็ต่อเมื่อคดีนี้สิ้นสุด ไม่มีข้าวจากโครงการเหลืออยู่ในโกดัง เป็นวิธีการเดียวที่จะนำไปสู่จุดเริ่มต้นของการลบภาพจำโครงการนี้ อีกทั้งการปรับเปลี่ยน รมว.ต่างประเทศ การตั้ง รมต.ที่มีความเชี่ยวชาญด้านกฎหมายมารอไว้ และเคลียร์คดีรับจำนำข้าวอย่างเบ็ดเสร็จเรียบร้อย อาจเป็นการเตรียมความพร้อมกรณี น.ส.ยิ่งลักษณ์ กลับไทย หาช่องให้คดีที่ยังเหลืออยู่ได้รับโทษน้อยที่สุด

เรียกว่าเป็น "การเมืองหลังโครงการจำนำข้าว" ซึ่งสถานการณ์ในขณะนี้ รัฐ บาลต้องให้ความสำคัญกับประชาชนเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการผลักดันนโยบายเรือธง ท่ามกลางข้อจำกัดต่าง ๆ ถือเป็นจุดเดียวที่จะสร้างสมดุลทางอำนาจ และความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกับประชาชน เพื่อขับเคลื่อนนโยบายอย่างเป็นรูปธรรม เช่น ปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ

ภูมิธรรม เป็นคีย์แมนหลักวางแผนบริหาร ประสานทุกฝ่าย การออกมาขับเคลื่อนเรื่องข้าวเป็นยุทธศาสตร์ของรัฐบาล

อ่านข่าว

"ภูมิธรรม" ขนทัพสื่อ-ผู้ส่งออก บุกโกดังข้าว 10 ปี ยันกินได้ 

"สมชัย" แนะตรวจสอบคุณภาพข้าว 10 ปี สร้างความมั่นใจก่อนขาย 

"สารรมควัน" ในเมล็ดข้าวสาร "ไม่เสื่อมสภาพ ตกค้าง ล้างไม่ออก" 


ครม.ไฟเขียว 3 มาตรการศก.ตรึงดีเซล-ลดค่าไฟ 19.05 สตางค์

Tue, 7 May 2024 15:12:00

วันนี้ (7 พ.ค.2567) นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) ยังเห็นชอบตามที่กระทรวงพลังงานเสนอมาตรการลดภาระค่าใช้จ่ายด้านพลังงานแก่ประชาชน ที่จะสิ้นสุดลง เพื่อบรรเทาผลกระทบค่าครองชีพของประชาชน และการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ

โดยมี 3 มาตรการหลักดังนี้ 1.ตรึงราคาน้ำมันดีเซลไม่ให้เกินลิตรละ 33 บาท 2.ราคาปลีกของก๊าซแอลพีจีขนาด 15 กิโลกรัม อยู่ที่ 423 บาท ต่อถัง และ 3.ลดราคาค่าไฟอยู่ที่ 19.05 สตางค์ต่อหน่วยกับผู้ใช้ไฟฟ้าบ้านเรือนไม่เกิน 300 หน่วยต่อเดือน

ทั้งนี้การตรึงราคาน้ำมันดีเซล ไม่เกินลิตรละ 33 บาทใช้เงินจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง หากเงินไม่พอก็ต้องมาดูงบกลางไปช่วยเหลือต่อไป

นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรี สั่งการให้กระทรวงอุตสาหกรรม เร่งแก้ไขปัญหาพร้อมจัดการเรื่องใบอนุญาตโรงงาน (ใบ รง.4) ที่มีความล่าช้าและค้างในระบบเป็นจำนวนมากให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน เพื่อให้เกิดความสะดวกและรวดเร็วในการประกอบธุรกิจของภาคเอกชน

โดยพบว่ามีได้รับการร้องเรียนเรื่องนี้มีใบอนุญาตค้างอยู่ประมาณกว่า 200 ใบ และได้รับรายงานเบื้องต้นว่ามีการตีกลับไปที่จังหวัดเป็นร้อยใบ โดยค้างอยู่ที่กรมโรงงาน ซึ่งรัฐบาลไม่ต้องการให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ แต่ต้องการให้เกิดการอนุมัติ ทำงานอย่างรวดเร็ว เพื่อให้เอกชนไปดำเนินงานสร้างโรงงาน พร้อมกับการสร้างงานสร้างอาชีพ ทำให้เศรษฐกิจเจริญเติบโตได้

นอกจากนี้การส่งเสริมนโยบายการท่องเที่ยวของรัฐบาล ได้ขอให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เร่งวางแผนการท่องเที่ยวในไตรมาสที่ 4 ของปีนี้ อย่างเต็มรูปแบบ ทั้งด้านการบริการ สถานที่ ความปลอดภัย เพื่อดึงดูดให้นักท่องเที่ยวให้เกิดความประทับใจ

อ่านข่าวอื่นๆ
"สารรมควัน" ในเมล็ดข้าวสาร "ไม่เสื่อมสภาพ ตกค้าง ล้างไม่ออก"

 

 


"สารรมควัน" ในเมล็ดข้าวสาร "ไม่เสื่อมสภาพ ตกค้าง ล้างไม่ออก"

Tue, 7 May 2024 14:48:18

ยังคาใจกับ “คอนเทนต์” กินข้าว 10 ปี จากโครงการรับจำนำข้าวในสมัยรัฐบาล ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ของ “ภูมิธรรม เวชยชัย” รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.พาณิชย์ ลงทุนพาสื่อบุกพิสูจน์ โกดังเก็บข้าวสารในสต็อกของรัฐบาลจำนวน 112,711 กระสอบ และที่ บ.พูนผลเทรดดิ้ง 32,879 กระสอบ รวมประมาณ 150,000 กระสอบ เป็นข้าวปี 56/57 เมื่อวันที่ 6 พ.ค.ที่ผ่านมา ถือเป็นครั้งที่ 2 หลังจากลงพื้นที่ชิมโชว์ครั้งแรก เมื่อเดือน เม.ย.

ในขณะที่ “ภูมิธรรม” ตอบคำถามสื่อวันนี้ (7 พ.ค.) อีกครั้งด้วยความมั่นใจช่วงหนึ่งว่า “ชิมแล้วไม่มีกลิ่นหืน ไม่มีความรู้สึกว่าจะกินไม่ได้ ความหอมอาจจะลดลงไม่เหมือนข้าวใหม่ แต่ความนุ่มนวลไม่มีปัญหาอะไร”

..และอยากให้เรื่องนี้ปิดตำนานไปเสีย ส่วนในทางคดีจะเป็นอย่างไรไม่ใช่ภารกิจของตน ใครมีส่วนเกี่ยวข้องก็ว่ากันไป...

“ใครทานได้ก็ทาน ใครไม่อยากทานก็ไม่ต้องทาน ใครซื้อก็ซื้อ ซื้อไม่ได้ก็ไม่ต้องซื้อ ตนไม่ได้ทำอะไรเพิ่มเติมมากกว่าสิ่งที่ควรทำ และหากในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีวันนี้ หารือกันจนสิ้นสงสัย ก็จะเร่งดำเนินการประมูลภายในเดือน พ.ค.นี้ หรืออย่างช้าไม่เกินเดือน มิ.ย.อยากให้มันจบจะได้ไปทำเรื่องอื่นต่อ ไม่อยากให้เกิดดรามา เอาจินตนาการมาชี้นำความจริง” รมว.พาณิชย์ ย้ำ

การชิมข้าวโชว์ถึง 2 ครั้งในเวลาไล่เลี่ยกัน ทำให้สังคมต้องออกมาตั้งคำถามว่า ข้าวสาร 10 ปีจากมหากาพย์โครงการรับจำนำข้าว ที่นำมาหุงและกินโชว์นั้น มีคุณภาพเพียงพอที่จะนำมาบริโภคหรือไม่ และหากมีการระบายข้าวทั้งหมดออกไป ไม่ว่าจะนำไปจำหน่ายในตลาดภายในประเทศหรือต่างประเทศจะส่งผลกระทบอะไรตามมาหรือไม่

“มีคำถามพอสมควรกับการรับประทานข้าวโชว์ครั้งนี้ แม้ รมว.พาณิชย์ จะบอกว่า ข้าวที่เก็บไว้ในสต็อกยังนำมาหุงกินได้ แต่ต้องยอมรับว่า โครงการรับจำนำข้าวเก็บมา 10 ปีแล้ว ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่า ต้องมีการเสื่อมสภาพ ทั้งจากสภาพอากาศ และสารรมควันข้าว ที่นำมาใช้ ไม่ว่าจะเป็นสารเมทิลโบรไมด์ (methyl bromide) และ อลูมิเนียมฟอสไฟด์ (aluminium phosphide) หรือ ฟอสฟีน ที่ตกค้างอยู่ในเมล็ดข้าวสาร” ข้อสังเกตของ วิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ ผู้อำนวยการมูลนิธิชีววิถี (BIOTHAI)

การเก็บรักษาข้าวสารปฏิเสธไม่ได้จำเป็นต้องใช้สารรมควัน เพื่อป้องกัน มอด แมลง หรือเชื้อรา หรือสารก่อมะเร็งที่เรียกว่า “อะฟลาท็อกซิน” โดยสารประเภทนี้จะตรวจพบได้ในตระกูลข้าวกล้อง ที่มีเปอร์เซ็นต์น้ำมันสูง แต่สำหรับข้าวสาร หากเก็บรักษาในสภาพอากาศที่แห้ง และไม่อับชื้นจะมีสารอะฟลาท็อกซินน้อยกว่า แต่สำหรับข้าวในโครงการรับจำนำข้าว 10 ปี ถือว่า ก็มีความเสี่ยงสูง แม้ว่าจะเป็นข้าวสารก็ตาม

“เราเคยตรวจพบสารตกค้างเมทิลโบรไมด์ ในถุงข้าวสาร ที่ผู้ประกอบการยังนำข้าวสารไปอบในกระบวนการระหว่างที่รอเตรียมจำหน่ายได้ แต่กับข้าวสารที่ถูกเก็บมาเป็นระยะเวลานาน 10 ปี จะมีสารตกค้างขนาดไหน มีผลวิจัยพบว่า สารเมทิลโบรไมด์ ยังตกค้างอยู่ในเนื้อข้าวสาร ต่อให้ล้างหลายครั้งๆ ก็ไม่ออกจากเมล็ดข้าว เราเคยศึกษาวิจัยเรื่องนี้ และนักวิชาการของกรมวิชาการเกษตรก็ยอมรับ และไม่ได้ปฏิเสธ” ผู้อำนวยการไบไอไทย กล่าว

และวิเคราะห์ว่า เหตุที่รัฐบาลต้องมาหุงข้าวและกินข้าวในโครงการรับจำนำข้าวโชว์ในครั้งนี้ อาจต้องการเบี่ยงเบนประเด็น หรือเรียกซีน เพื่อให้คนหรือสังคมออกมาวิพากษ์วิจารณ์ว่า ข้าวในโครงการฯ ที่ยังเก็บอยู่ในสต็อกฯ หากค่อยๆ ทำไป แล้วขายเพื่อเคลียร์ปัญหาให้จบ ถือว่าเป็นสิ่งที่ดีสำหรับเรื่องนี้ เพราะลำพังการกินข้าวโชว์เฉยๆ นั้น ไม่ได้เป็นคุณกับรัฐบาลเลย

อย่างไรก็ตามสิ่งที่รัฐบาล ควรอธิบายกับประชาชนให้เข้าใจมากกว่าการบอกว่า ข้าวจากโครงการรับจำนำข้าวฯยังสามารถนำมาบริโภคได้ คือ ยังมีข้าวเหลืออีกเท่าไหร่ และมีคุณภาพที่จะนำไปใช้ประโยชน์ เช่น ข้าวนึ่ง ปุ๋ย อาหารสัตว์

“บริษัทที่ไหนที่จะเข้าร่วมประมูล เพื่อจะได้เรียกร้องความรับผิดชอบในการนำข้าวเก่า 10 ปีมาจำหน่าย หากเกิดเหตุอะไรในอนาคต เพราะการเก็บรักษาข้าวเท่าที่เห็น ไม่ใช่การเก็บแบบซีล แต่เป็นการเก็บในสต็อก ไม่ใช่เก็บไว้เพื่อการบริโภค...ถามว่า ภาพที่ออกมาส่งผลกระทบต่ออะไรหรือไม่ ก็ส่งผลต่อความเชื่อมั่นต่อคนในสังคม สภาพข้าวที่เก็บที่อยู่ในกระสอบ 10 ปี แล้วเก็บในโกดังมีผลต่อสภาพและคุณภาพข้าวแน่ๆ โดยเฉพาะปัญหา อย่างน้อย 3 เรื่องที่กล่าว คือ การใช้สารรมควัน , ความเสื่อมคุณภาพ ที่จะมีผลต่อสุขภาพของผู้บริโภค ที่กินข้าวเสื่อมคุณภาพจะเป็นอย่างไร โดยเฉพาะคุณค่าทางสารอาหารที่ลดลง เพราะสารหลายตัวใช้ไปมันสะสม ล้าง 20 ครั้งก็ไม่ออก ไม่ใช่นำข้าวไปหุงแล้วจะสลายไป เพราะอีกครึ่งหนึ่งยังอยู่ในข้าว แม้ว่าจะมีการนำข้าวไปผสมหุงกับข้าวใหม่ก็ตาม”

ผู้อำนวยการไบโอไทย ทิ้งท้ายว่า หากรัฐบาลต้องการระบายข้าวโดยนำข้าวเก็บ 10 ปี มาขัดเพื่อแปรสภาพ แล้วนำไปจำหน่ายที่ประเทศอื่นๆ ตลาดอื่นๆ ภายนอก ก็อาจส่งผลกระทบต่อชื่อเสียงและความเชื่อมั่นในประเทศ หรือไม่เช่นนั้นจะมีผลกระทบระยะยาวตามมา จึงอยากขอให้รัฐบาลชี้แจงต่อประชาชนในทุกประเด็นที่มีการตั้งคำถาม และตอบทุกข้อสงสัยให้ได้


"เศรษฐา" แบ่งงาน 6 รองนายกฯ ใครคุมกระทรวงใด?

Tue, 7 May 2024 14:31:00

วันนี้ (7 พ.ค.2567) นางรัดเกล้า อินทวงศ์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงว่า ที่ประชุม ครม. ได้มอบหมายงานให้รองนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี รวมถึงกรณีที่รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีไม่อยู่ หรือไม่อาจปฏิบัติราชการได้ หรือไม่มีผู้ดำรงตำแหน่ง โดยมีคำสั่งนายกรัฐมนตรี ดังนี้

ในกรณีที่นายกรัฐมนตรี ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ โดยมีรักษาการนายกรัฐมนตรีลำดับดังต่อไปนีั

1.นายภูมิธรรม เวชยชัย
2.นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ
3.นายพิชัย ชุณหวชิร
4.นายอนุทิน ชาญวีรกูล
5.พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ
6.นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค

ในระหว่างรักษาการแทนนายกรัฐมนตรี จะสั่งการใดผู้รักษาราชการแทน จะสั่งการใดที่เกี่ยวกับการบริหาร บริหารงานบุคคล และการอนุมัติเงินงบประมาณ อันอยู่ในอำนาจของนายกรัฐมนตรีได้ ต้องได้รับความเห็นชอบจากนายกรัฐมนตรีเสียก่อน เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่น มาตรา 41 และ 48

อ่านข่าว : ครม.ใหม่เศรษฐา1/1 เข้าทำเนียบวันแรก-ถ่ายภาพหมู่

ด้าน น.ส.เกณิกา อุ่นจิตร์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงถึงการแบ่งงานรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีต่างๆ ว่า

นายภูมิธรรม เวชยชัย กำกับดูแลกระทรวงกลาโหม กระทรวงเกษตรเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงพาณิชย์ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีนายกรัฐมนตรี สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี กรมประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ กำกับดูแล กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงคมนาคม กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ สำนักงานราชบัณฑิตยสภา คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ

นายพิชัย ชุณหวชิร กำกับดูแลกระทรวงการคลัง กระทรวงการต่างประเทศ สำนักงบประมาณ

นายอนุทิน ชาญวีรกูล กำกับดูแลกระทรวงการอุดมศึกษา วิจัย และนวัตกรรม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงแรงงาน กระทรวงศึกษาธิการ

พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ กำกับดูแลกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค กำกับดูแลกระทรวงพลังงาน กระทรวงยุติธรรม ยกเว้นกรมสอบสวนคดีพิเศษ กระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

ส่วนรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นั้น

นายจักรพงษ์ แสงมณี ได้รับมอบหมายให้ดูแลสำนักงบประมาณ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ สำนักงานรัฐบาลพัฒนาดิจิทัล

นายพิชิต ชื่นบาน กำกับดูแลสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

น.ส.จิราพร สินธุไพร กำกับดูแลกรมประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค บริษัท อสมท. จำกัด(มหาชน) กองทุนหมู่บ้าน

ตั้ง "พิชิต" นายด่านหน้ากรองกฎหมาย

นายชัย วัชรรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงข่าวภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี ถึง การมอบหมายงานให้กับ รองนายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นผู้ตรวจพิจารณาร่างมติคณะรัฐมนตรี และกลั่นกรองเรื่องก่อนเสนอนายกรัฐมนตรี โดยมอบหมายให้ นายพิชิต ชื่นบาน รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ดังต่อไปนี้ทำหน้าที่ดังต่อไปนี้ เป็นกรณีที่ได้รับมอบหมายโดยเฉพาะ โดยเมื่อ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี หรือ สลค. ให้นายพิชิตเป็นคนตรวจร่าง ว่ามีความถูกต้องตามที่พิจารณาหรือไม่

ขณะเดียวกันยังมอบหมายให้นายพิชิต พิจารณา กลั่นกรองเรื่อง ก่อนนำเสนอนายกรัฐมนตรี ประกอบด้วย เกี่ยวกับการดำเนินคดีในศาลปกครอง ในกรณีที่นายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ถูกฟ้องในคดีปกครอง ก่อนที่จะเสนอให้นายกรัฐมนตรีลงนาม รวมถึงคดีในศาลรัฐธรรมนูญ ที่คณะรัฐมนตรีถูกร้อง รวมถึงกฎหมายในระดับพระราชบัญญัติทั้งหลาย หากจะเสนอให้นายกฯรัฐมนตรีพิจารณา ต้องผ่านการกลั่นกรองของนายพิชิตก่อน

อ่านข่าว :

"มาริษ" ชี้ "ทักษิณ" คุยเมียนมาไม่โยงรัฐบาล อุบ "ยิ่งลักษณ์" ประสานกลับไทย

#SAVE ผู้ว่าแบงก์ชาติ สัญญาณเตือนอย่าล้ำเส้น


#SAVE ผู้ว่าแบงก์ชาติ สัญญาณเตือนอย่าล้ำเส้น

Tue, 7 May 2024 13:44:20

ส่อเค้าบานปลายเป็นเรื่องใหญ่มาตั้งแต่วันแสดงวิสัยทัศน์ งาน “10 เดือนที่ไม่รอ ทำต่อให้เต็ม 10” ของ “อุ๊งอิ๊ง” น.ส.แพทองธาร ชินวัตร หัวหน้าพรรคเพื่อไทย เรื่องกฎหมายให้แบงก์ชาติเป็นอิสระจากรัฐบาล จึงเป็นปัญหาแก้เศรษฐกิจประเทศ

เนื่องจากจู่ๆ หัวหน้าพรรคเพื่อไทยก็สวมบทบาทนักเศรษฐศาสตร์วิพากษ์แบงก์ชาติโดยการก้มอ่านสปีชในแท็บเล็ตที่ไม่รู้ใครเขียนให้ ด้วยสีหน้าท่าทางเอาจริงเอาจัง ทั้งที่ไม่ได้เรียนจบหรือไม่มีความรู้ด้านเศรษฐศาสตร์ที่มากพอจะวิพากษ์เรื่องสำคัญและต้องอาศัยความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านอย่างนี้

อ่านข่าว : "เพื่อไทย" ชี้แบงก์ชาติ ควรรับฟ้งรอบด้าน ยันรัฐบาลไม่แทรกแซง

ท่ามกลางแกนนำและ สส.ของพรรคเพื่อไทยทั้งหน้าใหม่ หน้าเดิม และระดับอาวุโสที่นั่งกันสลอนหน้าเวที โดยไม่มีใครเอะใจ หรือสะกิดว่า สมเหตุสมควรแค่ไหน เพราะเรื่องเศรษฐศาสตร์มหภาค หรือเศรษฐกิจการเงิน ไม่ใช่เรื่องที่นึกอยากจะพูดก็พูดเพื่อหวังผลทางการเมืองเหมือนเรื่องอื่นๆ ที่นักการเมืองชอบทำ

ไม่รู้ว่านายพิชัย ชุณหวชิร หนึ่งในมือบริหารอาชีพด้านเศรษฐกิจ อดีตกรรมการแบงก์ชาติ และเป็นรัฐมนตรีคลังคนใหม่ป้ายแดง กับนายเศรษฐา ทวีสิน ที่จบปริญญาตรีสาขาเศรษฐศาสตร์ และปริญญาโท สาขาการเงิน จากสหรัฐ จะได้เห็นสปีชดังกล่าวก่อนหรือไม่ เพราะกว่าจะเห็นนายกฯ ออกโรงโดดป้อง “อุ๊งอิ๊ง” ก็ถัดมา 2 วัน ไล่เลี่ยกับนายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกฯ และรัฐมนตรีพาณิชย์ ที่อ้างว่าเป็นการสะท้อนปัญหาความทุกข์ยากของประชาชน ไม่ได้บีบหรือกดดันแบงก์ชาติ หรือคิดจะเปลี่ยนตัวผู้ว่าฯแบงก์ชาติ

อ่านข่าว : "ผมถูกจ้างมาให้กังวล" ตัวตนผู้ว่าแบงก์ชาติ "เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ"

เพราะวิสัยทัศน์จากสปีชดังกล่าวถูกวิพากษ์โต้กลับจากกูรูด้านเศรษฐกิจและนักเศรษฐศาสตร์ของจริงอย่างต่อเนื่อง ทั้งเรื่องบทบาทความสำคัญของแบงก์ชาติต่อระบบเศรษฐกิจและนโยบายด้านการเงินของประเทศ รวมทั้งเรื่องเจตจำนงให้แบงก์ชาติเป็นธนาคารกลางของประเทศ ต้องมีความเป็นอิสระเหมือนธนาคารกลางของประเทศอื่นๆ ทั่วโลก ยกเว้นประเทศเผด็จการ

ปฏิกิริยาต่อเรื่องนี้ร้อนแรงต่อเนื่องท่ามกลางกระแสผู้ว่าแบงก์ชาติจะถูกเด้ง และการผุด #saveผู้ว่าแบงก์ชาติ อย่างต่อเนื่อง หลังจากผู้ว่าฯแบงก์ชาติไม่เห็นด้วยกับโครงการดิจิทัลวอลเล็ตของรัฐบาล และต่อเนื่องเรื่องต้องการให้แบงก์ชาติลดดอกเบี้ยนโยบาย ด้วยข้ออ้างเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ เมื่อไม่ได้รับการสนองตอบ ก็หันไปเจรจาโดยตรงกับสมาคมธนาคารไทยและธนาคารของรัฐให้ลดดอกเบี้ยแทน

อ่านข่าว : นายกฯ ลั่นไม่เคยคิดปลด ผู้ว่าฯ แบงก์ชาติ

กระทั่งนายเศรษฐาต้องออกโรงมาสยบเรื่องนี้อีกครั้งเมื่อวันจันทร์ ครั้งนี้ ยังพ่วงปฏิเสธเรื่องแก้กฎหมายแบงก์ชาติ เพื่อลดความอิสระของแบงก์ชาติด้วย อันเป็นผลจากแนวทางจะปลดผู้ว่าแบงก์ชาติอาจทำไม่ง่าย ในมุมมองของนักกฎหมาย

แม้จะเคยมีผู้ว่าฯแบงก์ชาติ ถูกปลดมาแล้ว 4 คน แต่กฎหมายแบงก์ชาติปัจจุบัน การจะปลดผู้ว่าแบงก์ชาติได้ ต้องเป็นมติ ครม.ให้ออกโดยคำแนะนำของรัฐมนตรีคลัง ด้วยเหตุผลมีความประพฤติเสื่อมเสียอย่างร้ายแรง หรือทุจริตต่อหน้าที่ หรืออีกกรณี คือการเสนอของรัฐมนตรี โดยคำแนะนำของกรรมการหรือบอร์ดแบงก์ชาติ ด้วยเหตุผล บกพร่องในหน้าที่อย่างร้ายแรง หรือหย่อนความสามารถ ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะสรรหาเหตุผลมาอธิบายข้อกล่าวหาดังกล่าว

การเตรียมแก้ พ.ร.บ.แบงก์ชาติ จึงถูกหยิบยกมาพูดถึงเป็นทางเลือกสุดท้าย แม้จะขัดแย้งกับหลักสากลทั่วโลก ที่กำหนดให้ธนาคารกลางมีความอิสระ แยกการใช้อำนาจออกจากฝ่ายการเมือง

อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัติ หากรัฐบาลต้องการทำจริง ก็มีโอกาสทำได้ เพราะขนาดเรื่องคนชั้น 14 ไม่ต้องติดคุกจริงแม้แต่วันเดียว ยังทำได้ โดยข้ออ้างถูกต้องตามกฎหมายและกฎกระทรวง ก็ยังทำมาแล้ว

เพียงแต่เรื่องนี้ อาจต่างไปจากเรื่องนักโทษเทวดา เพราะเป็นเสมือนการรังแกคนดี ที่ประกาศรักษาความเป็นอิสระและคงความสำคัญของแบงก์ชาติอยู่เหนือความต้องการหรือแรงกดดันทางการเมือง

ใครจะลุแก่อำนาจ เดินหน้าต่อเกินเส้นแบ่งที่ควรจะเป็น คงต้องขบคิดให้จงหนัก

อ่านข่าว : 

ครม.ใหม่เศรษฐา1/1 เข้าทำเนียบวันแรก-ถ่ายภาพหมู่

หลายฝ่ายโต้กลับ "อุ๊งอิ๊ง" วิจารณ์ "ธปท."อุปสรรคพัฒนาประเทศ?

"มาริษ" ชี้ "ทักษิณ" คุยเมียนนาไม่โยงรัฐบาล อุบ "ยิ่งลักษณ์" ประสานกลับไทย


"มาริษ" ชี้ "ทักษิณ" คุยเมียนมาไม่โยงรัฐบาล อุบ "ยิ่งลักษณ์" ประสานกลับไทย

Tue, 7 May 2024 12:13:00

วันนี้ (7 พ.ค.2567) นายมาริษ เสงี่ยมพงษ์ รมว.ต่างประเทศ กล่าวถึงแนวทางการทำงานว่า ในเรื่องการทำงานขอพูดคุยกับกระทรวงการต่างประเทศก่อน เพื่อให้ทุกอย่างมันเดินไปในทิศทางเดียวกัน สิ่งที่ต้องการอย่างเดียวคือ การรับโจทย์จากนายกรัฐมนตรีมาว่าอยากเห็นนโยบายการต่างประเทศและประชาชนในปัจจุบันเป็นอย่างไร

เมื่อถามถึงกรณีสื่อโซเชียลระบุว่านายทักษิณ ชินวัตร ได้ไปพูดคุยกับตัวแทนชนกลุ่มน้อยหลังเกิดปัญหาในเมียนมา ได้มีการตรวจสอบแล้วหรือยัง นายมาริษ กล่าวว่า ตนเองก็ได้ทราบข่าวมาเช่นกัน และต้องยอมรับว่านายทักษิณเป็นคนที่กว้างขวางและมีเพื่อนฝูงมาก ซึ่งทางเมียนมาก็คงเห็นว่านายทักษิณจะสามารถช่วยได้ คงเป็นเรื่องที่ทางเมียนมาคุยกับนายทักษิณ ไม่เกี่ยวกับรัฐบาลไทย อย่างที่ตนบอกไปว่าเพิ่งจะทราบเรื่องดังกล่าว

อ่านข่าว : ครม.ใหม่เศรษฐา1/1 เข้าทำเนียบวันแรก-ถ่ายภาพหมู่

นายมาริษ ยังกล่าวว่าจุดยืนของรัฐบาลไทยคือ ต้องการให้เกิดความสงบเรียบร้อยในเมียนมา ยอมรับว่าเป็นเช่นนั้น และที่ผ่านมาไทยเองพยายามที่จะเป็นตัวกลางในการเจรจา อีกทั้งไทยก็ดำเนินการตามกรอบของอาเซียนด้วย ซึ่งต้องเป็นไปตามหลักการที่ควรจะเป็น บางอย่างกำลังดำเนินการอยู่ ขอยังไม่เปิดเผย แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ไทยต้องการเห็นความสมานฉันท์ปรองดองเกิดขึ้นในเมียนมา

มาริษ ชี้ ทักษิณ คุยเมียนนาไม่โยงรัฐบาล อุบ ยิ่งลักษณ์ ขอกลับไทย

มาริษ ชี้ ทักษิณ คุยเมียนนาไม่โยงรัฐบาล อุบ ยิ่งลักษณ์ ขอกลับไทย

เพราะถ้าปล่อยให้เป็นไปอยู่อย่างนี้ประเทศไทยก็ลำบาก ในฐานะที่เรามีพรมแดนเชื่อมติดต่อกันกับเมียนมายาวมาก อะไรที่เกิดขึ้นก็จะกระทบกับไทย ฉะนั้น ใครที่ช่วยอะไรได้ก็ควรจะช่วย และไม่จำเป็นต้องทำอย่างเป็นทางการ อีกทั้งทางการเมียนมา รัฐบาล ชนกลุ่มน้อย ขอให้นายทักษิณมาช่วย ก็เป็นเรื่องของเขา

ผู้สื่อข่าวถามว่า แนวทางที่นายทักษิณไปช่วย ตรงกับแนวทางกับกระทรวงการต่างประเทศหรือไม่ นายมาริษ กล่าวว่า ยังไม่เห็น เพราะเพิ่งได้ยินจากข่าว จึงไม่ทราบว่ารายละเอียดเป็นอย่างไร และอย่างที่บอกว่าการดำเนินการตรงนี้ไม่ได้ยุ่งเกี่ยวอะไรกับรัฐบาล เป็นเรื่องที่ทางการเมียนมาไปว่ากันเอง ถือเป็นสิทธิของเขาที่จะไปปรึกษาหารือกับใคร ย้ำว่าไม่เกี่ยวกับรัฐบาล ในส่วนของรัฐบาลก็ดำเนินการในส่วนของเรา ร่วมกับอาเซียน ขณะเดียวกัน ในการช่วยเหลือสิทธิมนุษยธรรมไทยก็ดำเนินการต่อไปภายใต้กรอบของอาเซียน

ทั้งนี้ นายมาริษ กล่าวว่า เรื่องที่เกี่ยวข้องกับนโยบาย ขอไปพูดคุยกับทางกระทรวงให้เกิดความเหมาะสมก่อนว่ารายละเอียดควรเป็นอย่างไร และยืนยันว่ายังไม่ได้พูดคุยกับหน่วยงานด้านความมั่นคง ส่วนที่มีการพูดคุยกันก่อนหน้ากับหน่วยงานด้านความมั่นคงนั้น ยังไม่ได้ลงในรายละเอียด เพียงแต่นายกฯ ได้ให้นโยบายกว้างๆ ย้ำว่าขอหารือในรายละเอียดกับทางกระทรวงการต่างประเทศก่อน

ซึ่งวันนี้นายกฯ ได้มอบนโยบายลงมาเรียบร้อย แต่ตนขอไปพูดคุยกับฝ่ายปฏิบัติก่อนว่าจะทำอย่างไรให้นโยบายเป็นเนื้อเดียวกัน รวมทั้งกับหน่วยงานด้านความมั่นคงด้วยว่าจะแบ่งงานอย่างไร เป้าหมายชัดเจนแล้วว่าเราต้องกำหนดวัตถุประสงค์ก่อนว่าเราต้องการอะไร และค่อยกำหนดว่าใครควรจะมีหน้าที่และเล่นบทบาทอย่างไร

ไม่รู้ปมคนมอง "ยิ่งลักษณ์" เตรียมใช้กลไก กต.เป็นด่านแรกกลับไทย

นายมาริษ กล่าวถึงกรณีที่มีกระแสข่าวว่าหาก น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี จะเดินทางกลับประเทศไทย กระทรวงการต่างประเทศจะต้องเป็นด่านแรกในการประสานงานว่า เรื่องนี้ตนไม่ทราบว่าเป็นอย่างไร

เมื่อถามย้ำว่า มีการมองกันว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ อาจจะใช้สถานทูตประเทศใดประเทศหนึ่งเพื่อรายงานตัว นายมาริษ กล่าวว่า เรื่องนั้นเป็นเรื่องของการมอง ไม่เกี่ยวกับกระทรวงการต่างประเทศ และสำหรับตนยังไม่ได้รับรายงานว่าจะมีเรื่องนี้เข้ามา ขออนุญาตไม่ตอบ เพราะไม่เกี่ยวอะไรกับกระทรวงการต่างประเทศ

อ่านข่าว : 

นายกฯ ลั่นไม่เคยคิดปลด ผู้ว่าฯ แบงก์ชาติ

"ทักษิณ" เคลื่อนตัว กระชับพื้นที่ ส่งผ่านอำนาจ "อุ๊งอิ๊ง" สู้ศึกระยะไกล


ป้ายแดง! "อรรถกร" คุม 7 หน่วยงานเกษตรแบ่งเบางาน "ธรรมนัส"

Tue, 7 May 2024 11:40:00

วันนี้ (7 พ.ค.2567) นายอรรถกร ศิริลัทธยากร รมช.เกษตรและสหกรณ์ เดินทางเข้ากระทรวงฯ เพื่อนำสิ่งของเครื่องใช้ส่วนตัวเข้ามาเก็บไว้ที่ห้องทำงาน ซึ่งก่อนการเดินทางไปร่วมประชุม ครม.ที่ทำเนียบรัฐบาล

นายอรรถกร กล่าวว่า ได้รับมอบหมายงานให้การกำกับดูแลและปฏิบัติราชการ จำนวน 7 หน่วยงาน ได้แก่ กรมพัฒนาที่ดิน กรมส่งเสริมสหกรณ์ กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ/องค์การสะพานปลา สำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (องค์การมหาชน) สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน)

ไม่ได้มีความหนักใจที่จะเข้ามาบริหาร ก่อนหน้านี้ได้พบหารือกับผู้บริหารของทั้ง 7 หน่วยงานแล้ว จากนี้จะเดินสายพูดคุยถึงแนวทางการทำงาน อีกทั้งมองว่า ทุกหน่วยงานมีความสำคัญที่จะขับเคลื่อนภาคเกษตร

อ่านข่าว ครม.ใหม่เศรษฐา1/1 เข้าทำเนียบวันแรก-ถ่ายภาพหมู่

ครม.เศรษฐา 1/1 ถ่ายภาพที่ระลึกที่ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล

ครม.เศรษฐา 1/1 ถ่ายภาพที่ระลึกที่ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล

นายอรรถกร กล่าวอีกว่า ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รมว.เกษตรและสหกรณ์ได้มอบหมายให้ ก็จะทำให้เต็มที่ เพราะรู้ตัวดีว่าจะต้องเข้ามาแบ่งเบางานที่มีอยู่จำนวนมาก และต้องช่วยดูแลเกษตรกรทั้งประเทศ

ทั้งนี้ ตามหนังสือคำสั่งของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ระบุชัดเจนว่า ให้รมช.เกษตรฯ บริหารงานนโยบายเท่านั้น ไม่มีอำนาจในการบริหารงานบุคคล การอนุมัติ งบประมาณ การอนุมัติ การอนุญาต การออกใบอนุญาตใดๆ ที่เป็นอำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งใด หรือมติของคณะรัฐมนตรี

อ่านข่าว

เช็ก 58 จังหวัดรับมือ "พายุฤดูร้อน" ฝนถล่ม-ลมแรง 7 พ.ค.

เช้ามืดวันนี้ รถขนกากแดดเมียมรอบ 2 ถึง จ.ตาก แล้ว

 

 


ครม.ใหม่เศรษฐา1/1 เข้าทำเนียบวันแรก-ถ่ายภาพหมู่

Tue, 7 May 2024 10:35:00

วันนี้ (7 พ.ค.2567) นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) หลังครม.เศรษฐา 1/1 เข้าเฝ้าถวายสัตย์ปฏิญาณตนก่อนเข้ารับหน้าที่ไปเมื่อวันที่ 3 พ.ค.ที่ผ่านมา โดยนายกรัฐมนตรี สวมชุดขาวเดินลงตึกไทยคู่ฟ้ามายังสนามบริเวณสนามหญ้า เพื่อมาดูความพร้อมผังการถ่ายรูปคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ แต่เนื่องจากฝนตกทำให้ต้องเปลี่ยนสถานที่ถ่ายภาพ จากเดิมที่หน้าตึกไทยคู่ฟ้า มาที่ตึกสันติไมตรี (โถงกลาง) ทำเนียบรัฐบาล 

จุดมุ่งหมายหลักหลังปรับครม.แล้ว ผลงานจะต้องดีขึ้น แต่ไม่ได้หมายความว่ารัฐมนตรีคนเก่าไม่ดี เมื่อสถานการณ์เปลี่ยนก็ต้องมีการปรับเปลี่ยน ประชาชนจะเชื่อมั่นครม.ชุดนี้จะต้องมากับผลงาน

"พิชัย"-คุยผู้ว่าแบงก์ชาติ 

ผู้สื่อข่าวถามว่า นายกรัฐมนตรีจะสบายใจขึ้นหรือไม่ หลังนายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง เตรียมพูดคุยกับผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศ ไทย (ธปท.) เพื่อลดความขัดแย้ง นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ทุกๆ การเคลื่อน ไหว หากช่วยลดความขัดแย้ง ก็ถือว่าเป็นเรื่องที่เหมาะสม และสมควรที่จะทำ มั่นใจว่าถ้าทั้ง 2 ฝ่ายพยายามที่จะพูดคุยกันก็จะเป็นเรื่องที่ดี โดยจะนำมาซึ่งการสนับสนุนงานของรัฐบาลได้

นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.การคลัง เดินทางมาถึงคนแรก เพื่อสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำทำเนียบรัฐบาล

นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.การคลัง เดินทางมาถึงคนแรก เพื่อสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำทำเนียบรัฐบาล

ผู้สื่อข่าวถามว่า ขณะที่ประชาชนให้คะแนนผลงานของรัฐบาลตลอด 7 เดือนที่ผ่านมาอยู่ที่ 6-7 คะแนน หลังปรับ ครม.จะขับเคลื่อนงานอย่างไร นายเศรษฐา กล่าวว่า การให้คะแนนจากประชาชนถือเป็นเสียงสะท้อนอย่างหนึ่ง ซึ่งการที่มายยืนอยู่ตรงนี้ถือเป็นหน้าที่ ที่จะต้องฟังเสียงสะท้อนเหล่านั้น ไม่ว่าจะได้คะแนนเท่าไหร่ก็ยังไม่ถึง 10 อยู่ดี จึงต้องพยายามทำงานต่อไป ซึ่งถือเป็นเรื่องที่สำคัญ

โดยจะต้องมาพิจารณาอีกทีว่า ส่วนไหนยังทำได้ไม่ดี หรือตรงไหนก็ที่อยู่ในการขับเคลื่อนตามระบบ ที่ต้องใช้เวลาในการทำงาน ก็ขอให้ความเป็นธรรมให้คณะทำงานด้วย ซึ่งระบบการทำงานของภาคส่วนราชการก็ไม่ได้เป็นปัญหาแต่อย่างใด เพราะถือว่าเป็นภาคส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนนโยบายของรัฐฯ

เชื่อว่าทุกกระทรวง ทบวง กรม มีส่วนช่วยในการผลักดันงานของรัฐบาลอยู่แล้ว จึงไม่ได้เป็นปัญหาใด แต่ปัญหาใหญ่ที่พบก็ต้องใช้ทุกภาคส่วนในการขับเคลื่อนงาน

อ่านข่าว เช้ามืดวันนี้ รถขนกากแดดเมียมรอบ 2 ถึง จ.ตาก แล้ว

ประเมินผลงาน-แก้จุดอ่อนศก.

ผู้สื่อข่าวถามว่า ได้มีการตั้งตัวชี้วัด หรือ KPI ไว้สำหรับรัฐมนตรีคนใหม่อย่างไร นายกฯ กล่าวว่า เรื่องนี้ต้องมีการพูดคุยกันว่า บางเรื่องจะต้องแล้วเสร็จภายในเมื่อไหร่ แต่ก็อาจจะมีตัวแปรอื่นที่ไม่สามารถควบคุมได้ ดังนั้นตัวชี้วัดก็เปลี่ยน แปลงได้ ซึ่งตัวเองไม่ได้กำหนดว่าจะต้องใช้เวลานานเท่าไหร่

โดยบางเรื่องอาจจะจบภายใน 2 สัปดาห์ แต่บางเรื่องอาจจะใช้เวลานานนับปี เพราะแต่ละเรื่องใช้เวลาที่แตกต่างกัน เช่นเรื่องการลงทุน ที่จะจะต้องมีการประ สานงานกับทุกฝ่าย ก็ต้องเห็นใจฝ่ายที่จะเข้ามาลงทุนด้วย จะต้องใช้เวลาในการพิจารณาเป็นระยะเวลายาวนาน อย่างไรก็ตาม เชื่อมั่นว่า ครม. ชุดใหม่ ให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนเป็นหลัก

ผู้สื่อข่าวถามว่า ช่วงเวลา 6-7 เดือนที่ผ่านมา จะต้องเสริมในจุดอ่อนในด้านใดบ้าง นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ปัญหาสะสมในทุก ๆ ด้านไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจ สังคม ปากท้องประชาชนประชาชน ซึ่งเรื่องเหล่านี้ยังคงต้องการความช่วยเหลือ

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คมนาคม เดินทางเข้าทำเนียบรัฐบาล

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คมนาคม เดินทางเข้าทำเนียบรัฐบาล

ด้านนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คมนาคม กล่าวว่า นายกรัฐมนตรี ให้ความไว้วางใจตนแล้วก็ต้องทุ่มเทความสามารถให้เต็มที่ ทำตามที่นายกรัฐมนตรีได้สั่งการไว้ เพื่อให้ประสบความสำเร็จในการทำงาน

อ่านข่าวอื่นๆ

ด่วน! กระบะ จนท.ดับไฟป่าพลัดตกเขาจอมทอง บาดเจ็บ 14 คน

จับเพิ่มอีก 2 คน ผู้ต้องหาร่วมขบวนการอุ้มรีดเงินชาวจีน

 

 


นายกฯ ลั่นไม่เคยคิดปลด ผู้ว่าฯ แบงก์ชาติ

Mon, 6 May 2024 18:47:00

วันนี้ (6 พ.ค.2567) นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ปฏิเสธกรณีรัฐบาลมีเจตนากดดัน นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย หรือคิดจะปลดออกจากตำแหน่ง รวมไปถึงแนวทางที่จะเสนอร่างแก้กฎหมายธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อลดอำนาจ แต่ยอมรับว่า มีความเห็นต่างเรื่องการลดดอกเบี้ยเกิดขึ้น แต่ก็ถือเป็นเรื่องธรรมดาที่จะเกิดขึ้นได้ตามเนื้องาน

อ่านข่าว : "เพื่อไทย" ชี้แบงก์ชาติ ควรรับฟ้งรอบด้าน ยันรัฐบาลไม่แทรกแซง

นายก ลั่นไม่เคยคิดปลด ผู้ว่า แบงก์ชาติ

นายก ลั่นไม่เคยคิดปลด ผู้ว่า แบงก์ชาติ

ขณะที่ภาพรวมการลงพื้นที่ จ.มหาสารคาม และ จ.ร้อยเอ็ด นายกฯ กล่าวว่า 2 วันที่ลงพื้นที่ไปดูปัญหาในทุกมิติ ทั้งเรื่องปัญหาภัยแล้ง ปัญหาน้ำท่วม ทั้งหนองน้ำและอ่างเก็บน้ำ พยายามแก้ปัญหาในพื้นที่ รวมถึงปัญหาถนนที่ต้องมีการขยาย ให้การจราจรและการคมนาคมเป็นไปได้ด้วยดี และที่สำคัญที่เรามาในวันนี้คือปัญหาเรื่องยาเสพติด

วันนี้เน้นปัญหาเรื่องยาเสพติด ซึ่งเป็นปัญหาในพื้นที่ภาคอีสานมีเยอะมาก ตั้งแต่ก่อนเลือกตั้งแล้ว ซึ่งเรามาหลายครั้งแล้วแต่ปัญหาก็ยังเป็นแบบเดิมตลอด แล้ววันนี้มีเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขมาด้วย ก็มาดูว่าจากนี้ต่อไปอีก 90 วัน ต้องมีอะไรที่เป็นรูปธรรม ไม่ว่าจะเรื่องการยึดทรัพย์ การกำหนดมาตรฐานที่จะต้องมียาบ้ากี่เม็ดจะเข้าข่ายเป็นผู้ขาย รวมถึงการบังคับใช้กฎหมายต่าง ๆ เป็นเรื่องที่เราให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง นอกจากนี้ในเรื่องของหนี้นอกระบบ ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญและตนเองได้กำชับกับฝ่ายปกครอง แล้วฝ่ายความมั่นคง ว่าจะต้องมีการจัดการให้หมดสิ้นไป

ผู้สื่อข่าวถามว่า การลงพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด นายกฯ ให้พัฒนาทุ่งกุลาร้องไห้จะส่งเสริมข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ให้ติดอันดับโลกมากขึ้นกว่านี้หรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า วันนี้ชาวบ้านก็นำข้าวนี้มาให้ พร้อมกับยกถุงข้าวโชว์ให้สื่อมวลชนดู และกล่าวต่อว่า ตรงนี้เราจะมีการขยายเพื่อส่งเสริมมูลค่าเพิ่ม ให้กับผลิตภัณฑ์สินค้าทางการเกษตร

นายกฯ ยังกล่าวว่า ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ต้องพัฒนาสายพันธุ์และปริมาณการเพาะปลูกต่อไร่ เราอยากให้มีปริมาณที่สมดุลขึ้น รวมถึงการบริหารจัดการเรื่องน้ำต่าง ๆ ซึ่งเชื่อว่าจะดีขึ้น

ทั้งนี้นายกฯ กล่าวถึงความต้องการข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ในต่างประเทศมีสูงมาก ข้าวหอมมะลิเราทราบกันดีว่าผลผลิตต่อไร่ต่ำกว่าข้าวพันธุ์ข้าวธรรมดา จึงต้องมีความพยายามยกระดับให้สูงขึ้น โดยในแง่ของต้นทุนการผลิต ถ้าเราสามารถทำให้ผลผลิตต่อไร่ออกมาเป็น 650 กิโลกรัมต่อไร่ ราคาข้าวก็จะสูงขึ้น ซึ่งเรื่องการบริหารจัดการน้ำก็เป็นเรื่องสำคัญ แต่มันต้องใช้เวลา ถึงต้องมาดูด้วยตาตนเอง และเชิญรัฐมนตรีหลายท่านมาด้วย

อ่านข่าว :

"ผมถูกจ้างมาให้กังวล" ตัวตนผู้ว่าแบงก์ชาติ "เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ"

"ทักษิณ" เคลื่อนตัว กระชับพื้นที่ ส่งผ่านอำนาจ "อุ๊งอิ๊ง" สู้ศึกระยะไกล

นายกฯ ปฏิเสธกดดัน "ผู้ว่าแบงก์ชาติ" ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ